บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ (๑) เพื่อศึกษาการใช้สมุนไพรตามพุทธานุญาต (๒) เพื่อศึกษาการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (๓) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้สมุนไพรตามพุทธานุญาตเพื่อทางสาธารณสุขมูลฐาน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สมุนไพรมีอยู่หลายชนิดการใช้สมุนไพรแต่ละชนิดก็มีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป เพื่อความเหมาะสมในแนวทางของตน สมุนไพรก็มีสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด จึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาการใช้สมุนไพรทั้งหลายดังกล่าวเพื่อความถูกต้องและปลอดภัย สำหรับการใช้สมุนไพรตามพุทธานุญาตส่วนใหญ่จะไม่บอกว่าสมุนไพรใดมีสรรพคุณแก้โรคอะไร ขนาดและการใช้ยาสมุนไพรก็ไม่ได้บอกว่ากินยาจำนวนเท่าไร กินก่อนหรือหลังอาหารจะมีก็เพียงส่วนน้อย เช่น กระเทียมแก้โรคลม เสียดท้องเป็นต้น
๒. สำหรับการใช้สมุนไพรในแนวทางสาธารณสุขมูลฐานจะต้องบอกขนาดและวิธีการใช้ยาแต่ละตัวพร้อมทั้งรายละเอียดในการใช้ยาทุกขั้นตอน สำหรับการใช้ยาสมุนไพรตามพุทธานุญาตเพื่องานสาธารณสุขมูลฐานก็มีความแตกต่างอีกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ สมุนไพรตามพุทธานุญาตใช้แห้วหมูผสมกับยาตัวอื่นได้ แต่งานสาธารณสุขมูลฐานนั้นให้ใช้สมุนไพรเดียว
๓. แนวทางการใช้สมุนไพรที่พบบ่อยมี ๑๑ ชนิด คือ ๑. ขิง ๒. กระเทียม ๓. กะเพรา ๔. ดีปลี ๕. ข่า ๖. แห้วหมู ๗. แมงลัก ๘. บอระเพ็ด ๙. สะเดา ๑๐. มะขามป้อม ๑๑. ขมิ้น
สมุนไพรดังกล่าวจะเน้นการรักษาโรคให้หายเช่นเดียวกัน
อานิสงส์ที่ได้จากการใช้สมุนไพรทั้งสองแนวทางดังกล่าวแล้วข้างต้น ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นอีกมากมายสำหรับมนุษยชาติ เช่น ๑. ความปลอดภัย ๒. ประหยัด ๓. เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกล ๔. ไม่ต้องกลัวปัญหาขาดแคลนยา ๕. เป็นพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น
ดาวน์โหลด
|