หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อนุชา โสภาคย์วิจิตร์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบโดยรูปแบบการฝึกสมาธิเชิงประยุกต์
ชื่อผู้วิจัย : อนุชา โสภาคย์วิจิตร์ ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  บรรจบ บรรณรุจิ
  อำนาจ บัวศิริ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาการฝึกสมถกรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ตามแนวตะวันตก (๓) เพื่อประยุกต์รูปแบบการฝึกกรรมฐานเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยดังนี้ (๑) สัมมนากลุ่มเพื่อหาแนวทางการฝึกสมาธิเพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์จากผู้เกี่ยวข้องได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์ ๒ ท่าน อาจารย์ผู้สอนทางด้านการออกแบบ ๒ ท่าน และนักศึกษาทางด้านการออกแบบ ๓ ท่าน (๒) ศึกษาข้อมูลภาคเอกสารด้านการฝึกปฏิบัติสมถกรรมฐาน และการคิดสร้างสรรค์ (๓) สำรวจเบื้องต้นกับนักศึกษาชั้น
ปีที่ ๑ จำนวน ๗๗ คน (๔) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการฝึกสมาธิ และการคิดสร้างสรรค์ จำนวน ๖ ท่าน (๕) สร้างชุดฝึกนำมาทดสอบฝึกนักออกแบบ จำนวน ๓๐ คน (๖) ประเมินผลชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์โดยรูปแบบการฝึกสมาธิประยุกต์

             ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการฝึกที่เหมาะสมต้องเป็นการส่งเสริมให้เกิดปัญญาตามหลักไตรสิกขา โดยมีกระบวนการส่งเสริมสัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการฝึกการคิดสร้างสรรค์โดยมีแนวทางในการฝึกคือ ๑) โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกิดศรัทธาและความเข้าใจในศีล กรรมและผลของกรรม และการมีเมตตา เพื่อการคิดสร้างสรรค์เชิงบวก ๒) กัลยาณมิตร คือ
ผู้ฝึกสอนและให้คำแนะนำ โน้มน้าวให้เกิดศรัทธา ในการฝึกสมาธิและประยุกต์ และชี้ให้เห็นความคิด และกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ๓) ปรโตโฆสะ เป็นการประยุกต์สภาพแวดล้อม บรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการฝึก และการใช้สื่อสมัยใหม่ และกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ใช้ในการฝึก

             ผลการประเมินก่อนและหลังการฝึก ของกระบวนการฝึก คือ ๑) เสริมสร้างศรัทธาในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ๒) ฝึกสมาธิในรูปแบบที่เหมาะสมกับบุคลิกและพฤติกรรมของ
นักออกแบบ ๓) ฝึกความคิดสร้างสรรค์ตามแนวตะวันตก พบว่า
กลุ่มทดสอบมีความเห็นเกี่ยวกับการฝึกสมาธิเชิงประยุกต์เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบ โดยรวมทุกข้อ และในแต่ละข้อ อยู่ในระดับมาก และสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละข้อจากมากไปหาน้อย คือ ประเด็นศรัทธา ศีล และหลักธรรมเรื่องสมาธิ ( = 4.17) ประเด็นความคิดสร้างสรรค์ ( = 4.12) และประเด็นสมาธิและการเจริญสติ ( = 4.06) ตามลำดับ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕