หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโอภาสธรรมสาร (ชำนาญ โอภาโส)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การศึกษาแก่นธรรมผ่านวรรณกรรมเรื่องกายนคร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโอภาสธรรมสาร (ชำนาญ โอภาโส) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                   วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาแก่นธรรมผ่านวรรณกรรมกายนครในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยมีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาทางวรรณกรรม เรื่องกายนครที่ปรากฏในสังคมไทย (๒) เพื่อศึกษาแก่นธรรมผ่านวรรณกรรมเรื่องกายนคร (๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลและคุณค่าทางวรรณกรรม เรื่องกายนครที่มีในสังคมไทย

                   จากการวิจัยพบว่า วรรณกรรม เป็นสิ่งที่ผูกพันกับสังคมและเป็นสมบัติในสังคมที่มีร่วมกันทุกยุค  ดังนั้นการศึกษาวรรณกรรม จึงต้องควบคู่กับสังคม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของวรรณกรรม ผู้วิจัยแสดงความคิดถึงความจริงที่มีต่อสังคมด้วยความสนใจและความรับผิดชอบต่อวรรณกรรมจึงมีอิทธิพลต่อสังคม

                   วรรณกรรมกายนครในสังคมไทยเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประพันธ์เป็นวรรณกรรม จากแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอน คติธรรมผ่านจิตรกรรมเกี่ยวกับฝาผนัง  ชาดกต่างๆ  นรก สวรรค์  ให้มนุษย์เห็นเป็นรูปธรรมผ่านวรรณกรรมกายนครซึ่งกล่าวถึงเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ ที่ประกอบด้วยมหาภูตธาตุ ๔  ได้แก่ ธาตุดิน  น้ำ ลม  ไฟ

                      แก่นธรรม เป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่สอนให้ผู้ปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้นทางใจ  หลักธรรมเป็นคำสอนทางศาสนาได้แก่ สิ่งที่เป็นความดี ความงาม ความถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดนี้นำผู้ปฏิบัติให้มีความดี ความงาม และความถูกต้องในชีวิตของเขาและสังคมทั้งหลายได้อย่างมีความสุข หลักธรรมเหล่านี้  ได้แก่  (๑) มหาภูตรูป ๔  (๒) อายตน ๖  (๓) วิญญาณ ๖ (๔) อริยมรรค ๘ (๕)  และพระนิพพาน

            อิทธิที่สำคัญและคุณค่าทางวรรณกรรมที่มีบทบาทสำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน ได้แก่ ในด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต  การเมือง การปกครอง  ทั้งหมดนี่สร้างจิตสำนึก คติธรรมในพระพุทธศาสนา  ซึ่งทำให้เกิดความดีงามต่อสังคมในการพัฒนาจิตใจมนุษย์มาอย่างยาวนาน และให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของวรรณกรรมในพระพุทธศาสนาซึ่งสอนให้ผู้ปฏิบัติละความชั่ว ประพฤติดี และทำจิตใจให้ผ่องใส  สามารถที่จะบรรลุธรรมให้ถึงความพ้นทุกข์ได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕