หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พัชราวลัย ศุภภะ
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
ประสิทธิภาพผู้บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักราชสังคหวัตถุ
ชื่อผู้วิจัย : พัชราวลัย ศุภภะ ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  สมาน งามสนิท
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒. เพื่อศึกษาหลักหลักราชสังหวัตถุ ๔ ในการเพิ่มประสิทธิภาพผู้บังคับใช้กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓. เพื่อนำเสนอรูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพผู้บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามราชสังคหวัตถุ ๔

                ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)จำนวน ๒๕ รูป/คน โดยมีการแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๔ กลุ่มคือ ๑) กลุ่มข้าราชการประจำที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร  ๒) กลุ่มนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมและการบังคับใช้กฎหมาย ๓) กลุ่มนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านรัฐประศาสนศาสตร์ และ ๔) กลุ่มพระสงฆ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมธีทางพระพุทธศาสนา ผู้วิจัยนำข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญมาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ด้วยวิธีการพรรณนาความ (descriptive interpretation) ประมวลสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

            ผลการวิจัยพบว่า

                ๑. สภาพทั่วไปของปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยทำสรุปประเด็นปัญหาหลักๆได้ ๓ ประการ คือ ๑)ปัญหาด้านการจัดการ ๒) ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย ๓) ปัญหาด้านเจ้าพนักงาน/เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย

                ๒. สภาพปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมของบทบาทองค์กรส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พบว่า สภาพปัญหาคือขาดความเป็นเอกภาพของกฎหมายสิ่งแวดล้อม เพราะบทบัญญัติของกฎหมายที่ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและการบังคับใช้ของผู้มีอำนาจบังคับใช้ที่ซ้ำซ้อนกัน  อุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร มี ๓ ประเด็น คือ ๑) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ๒) ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม  ๓) ปัญหาด้านเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจบังคับใช้

                ๓. หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมแก่การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร  หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม คือ หลักราชสังคหวัตถุ ๔ สรุปได้ ดังนี้

                   ๑) หลักสัสสเมธะ คือ ความเป็นผู้ฉลาดปรีชาในการพิจารณาถึงผลิตผลอันเกิดขึ้นในแผ่นดิน มีกระบวนการส่งเสริมให้ความรู้ 

                   ๒) หลักปุริสเมธะ คือ ฉลาดในการบำรุงข้าราชการ การรู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ หมายถึงผู้ปกครองต้องมีความฉลาดในการใช้คนทำงาน

                   ๓) หลักสัมมาปาสะ คือ ฉลาดในการผูกประสานปวงประชา หมายถึงผู้ปกครองจะต้องมีความฉลาดในการวางนโยบายผูกประสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมสัมมาอาชีพ

                   ๔) หลักวาชเปยะ หรือ วาจาเปยยะ หมายถึงผู้ปกครองจะต้องรู้จักพูด มีความฉลาดในการใช้วาทะดูดดื่มใจ

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕