หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโอภาสกัลยาณธรรม
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๑ ครั้ง
การบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๒
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโอภาสกัลยาณธรรม ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวรสุตกิจ
  บุษกร วัฒนบุตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๒ ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๒ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๒  การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method  Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary  Analysis) กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๒ รูป/คน การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) และทำการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๙ ท่าน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้ทำการสุ่มมาจากประชากรจำนวน ๓๖๕ รูป โดยคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๙๑ รูป โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)

 

ผลการวิจัยพบว่า

             ๑) ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักเรียนส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ จำนวน ๑๘๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๓ มีอายุระหว่าง ๒๑ – ๔๐ ปี จำนวน ๑๑๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๘ มีพรรษา ๑-๕ พรรษา จำนวน ๘๑ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๔ มีการศึกษาชั้นสูงสุดระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๑๐๕ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๐ มีการศึกษานักธรรมชั้นเอก จำนวน ๑๐๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓ และไม่มีวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม จำนวน ๑๒๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๕ ตามลำดับ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๒ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = ๔.๐๐, S.D. = ๐.๖๒๘)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี  ( = ๔.๐๒, S.D. = ๐.๗๒๙)   ด้านระบบการบริหารและการจัดการ  ( = ๔.๐๑, S.D. = ๐.๖๙๒)   ด้านทรัพยากรมนุษย์ ( = ๔.๐๐, S.D. = ๐.๖๗๗)  และด้านองค์การ ( = ๓.๙๘, S.D. = ๐.๖๖๗) 

๒) สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ พบว่า มีการสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีสุขภาพกายและจิตที่ดีและคุณภาพ ด้วยการสนับสนุนให้บุคลากรมีความรู้ในระดับที่สูงขึ้น และพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนส่งผลให้ปริมาณจำนวนนักเรียนมีมากขึ้น มีการประชาสัมพันธ์การจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมให้ชุมชนได้รับรู้ และประสานขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเพิ่มจำนวนบุคลากรและสร้างแรงจูงใจในการศึกษาของนักเรียน ด้านองค์การ พัฒนามาตรฐานสำนักศาสนศึกษาที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ ด้วยการพัฒนาผู้บริหารและครูมืออาชีพ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาที่มีเอกลักษณ์ และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป ด้านความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ต้องพัฒนาวัดให้เป็นเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าศาสตร์ทางด้านพระพุทธศาสนาแบบครบวงจร ด้านระบบการบริหารและการจัดการ พัฒนาสำนักศาสนศึกษาให้เป็นต้นแบบด้านคุณธรรมจริยธรรม และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ควบคู่กับการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม โดยเน้นการประชาสัมพันธ์โครงการใช้ประชาชนรับรู้และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอสนับสนุนงบประมาณและพัฒนาบุคลากร และเน้นการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

๓) รูปแบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๒ นั้น ประกอบด้วย รูปแบบที่ ๑ การสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีสุขภาพและคุณภาพ เป้าประสงค์ คือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีสุขภาพกายและจิตที่ดี ผลผลิต คือ ๑. ผู้บริหารและครูมีคุณวุฒิและคุณธรรมสูงขึ้น และ ๒. นักเรียนจบการศึกษาทางธรรมเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์  คือ ๑. บุคลากรมีศักยภาพสูง ๒. จำนวนผู้สอบผ่านมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น รูปแบบที่ ๒ การพัฒนามาตรฐานสำนักศาสนศึกษาที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ เป้าประสงค์ คือ ระบบการศึกษาที่มีเอกลักษณ์ และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ผลผลิต คือ สำนักศาสนศึกษามีการจัดการศึกษาที่ได้คุณภาพ และมีมาตรฐาน กลยุทธ์  คือ ๑. ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ๒. เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  รูปแบบที่ ๓ การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ คือ เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าศาสตร์ทางด้านพระพุทธศาสนาแบบครบวงจร ผลผลิต คือ ๑. มีหนังสือและตำราเรียนทางด้านพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น ๒. มีแหล่งเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์  คือ ๑. มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ๒. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย รูปแบบที่ ๔ การพัฒนาระบบการบริหารที่เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม เป้าประสงค์ คือ เป็นสังคมต้นแบบด้านคุณธรรมจริยธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ผลผลิต คือ ๑. มีผู้จบการศึกษาที่มีภูมิรู้และภูมิธรรมสูง ๒. มีสังคมต้นแบบด้านคุณธรรมจริยธรรม กลยุทธ์  คือ ๑. การเรียนการสอนที่เข้มแข็ง ๒. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕