บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (๑) ศึกษาสภาพการจัดการการสาธารณูปการ (๒) ศึกษากระบวนการการจัดการการสาธารณูปการ (๓) นำเสนอแนวทางการบริหารการจัดการการสาธารณูปการของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๒๖ รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน ๙ รูป/คน ใช้การวิเคราะห์แบบพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามจำนวน ๑๙๑ ชุด วิเคราะห์โดย โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์วิเคราะห์ค่าสถิติพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพการจัดการการสาธารณูปการพบว่า ขาดการวางแผนในการจัดสรรทรัพยากร และพระสังฆาธิการยังขาดความรู้ความเข้าใจในงานด้านสาธารณูปการและด้านเงินปัจจัยในการทำจะทำงานด้านสาธารณูปการมีน้อยล่าช้าทำให้งานไม่มีคุณภาพ ผู้ดูแลขาดความรู้และขาดประสบการณ์ในการตรวจงานทำให้เกิดปัญหาตามมาในการบริหารงานตามหลักพุทธวิหารของพระสังฆาธิการส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดสรรคนคือคณะสงฆ์ให้ตรงกับงาน ขาดความสามัคคีในการทำงาน ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานการประสานงานในการอำนวยการที่ดีทำให้งานไม่ต่อเนื่องล่าช้าไม่เป็นไปตามเวลาที่ตั้งไว้
๒. กระบวนการการจัดการการสาธารณูปการและระดับความคิดเห็นของของคณะสงฆ์ต่อการบริหารจัดการการสาธารณูปการของวัดในจังหวัดสมุทรปราการพบว่า ความคิดเห็นของคณะสงฆ์ต่อการบริหารจัดการการสาธารณูปการของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความคิดเห็นของคณะสงฆ์ต่อการบริหารจัดการการสาธารณูปการของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ ในด้านจัดองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๕๔) ส่วนด้านที่เหลือคณะสงฆ์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
๓. การบริหารจัดการสาธารณูปการของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ๑) ด้านการวางแผน ควรให้ผู้ที่มีความรู้ในการวางแผนการบริหารด้านงานสาธารณูปการ มีการวางแผนด้านปัจจัยเงินทุนโดยขอแรงสนับสนุนจากประชาชนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสร้างให้มีแบบมีศิลปะอย่างที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้มีการเสริมแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้ในตัวอาคารเสนาสนะด้วย ๒) ด้านงานจัดองค์กร จัดผู้รับผิดชอบ โดยการจัดประชุมในการเป็นผู้นำดูแลในการก่อสร้างอาคารเสนาสนะโดยตรง ๓) ด้านงานบุคลากร จัดหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมารับหน้าที่การทำงานภายในองค์กรของวัด ๔) ด้านการสั่งการ จัดประชุมขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ และประชาชนจัดกิจกรรมภายในวัดเพื่อเป็นการนำไปสิ่งจูงใจในการร่วมมือกันทำงานก่อสร้างอาคารเสนาสนะ ๕) ด้านการกำกับดูแล จัดงานจัดกิจกรรมชักชวนประชาชนให้เข้าหาวัดเพื่อจัดหาทุนหรืองบประมาณในการก่อสร้างเสนาสนะโดยจัดคณะกรรมการที่มีประสิทธิภาพสูง
ดาวน์โหลด
|