บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒ ๒) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชน
และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Analysis) กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๑ รูป/คน การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) และทำการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๘ ท่าน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้ทำการสุ่มมาจาก
พระสังฆาธิการ จำนวน ๑,๗๐๙ รูป โดยคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๒๔ รูป โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า
๑) สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒ นั้น พบว่า พระสงฆ์สามารถตัดสินใจดำเนินโครงการต่างๆ ได้ทันที
โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนและชุมชน โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของพระสงฆ์มีบทบาทสำคัญต่อชุมชน ประชาชนให้การยอมรับและสนับสนุน ควรดำเนินการเชิงรุกต่อไป พระสงฆ์สามารถควบคุมโครงการให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และสามารถขยายโครงการต่อไปในระยะยาวได้ และได้โอกาสเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก
๒) พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๕,
S.D. =๐.๖๑๖) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ในด้านการเข้าร่วมในการดำเนินงานของแผนและโครงการ อยู่ในระดับสูงสุด ( = ๔.๒๕, S.D. = ๐.๗๑๓) รองลงมาคือ การเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์จากการมีส่วนร่วม ( = ๔.๐๙, S.D. = ๐.๗๒๐) ถัดมาคือการเข้าร่วมในการติดตามและประเมินผลโครงการ ( = ๔.๐๕,
S.D. = ๐.๗๕๓) และสุดท้ายคือการเข้าร่วมในการตัดสินใจและตกลงใจ ( = ๓.๓๘, S.D. = ๓.๘๓) ตามลำดับ
๓) ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชนตามหลักภาวนา ๔ นั้นประกอบด้วย การพัฒนาด้านกาย (กายภาวนา) ได้แก่ กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพในชุมชน กิจกรรมสร้างรายได้แก่ให้ประชาชน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพวิถีพุทธ การพัฒนาด้านศีล (สีลภาวนา) ได้แก่ กิจกรรมการส่งเสริมหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กิจกรรมการส่งเสริมหมู่บ้านปลอดอบายมุข การพัฒนาด้านจิตใจ (จิตภาวนา) ได้แก่ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด กิจกรรมปฏิบัติธรรม ส่งเสริมด้านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
และกิจกรรมอบรมค่ายคุณธรรม การพัฒนาด้านปัญญา (ปัญญาภาวนา) ได้แก่ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน เป็นโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม ๔ ลักษณะ คือ ๑. การเข้าร่วมในการตัดสินใจและตกลงใจ
๒. การเข้าร่วมในการดำเนินงานของแผนและโครงการ ๓. การเข้าร่วมในการติดตามและประเมินผลโครงการ ๔. การเข้าร่วมในการรับผลประโยชน์จากการมีส่วนร่วมและใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา คือ หลักอริยสัจ ๔ และหลักสัปปุริสธรรม ซึ่งผลที่ได้จากการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน คือ ความสุขทางกายและความสุขทางใจ เมื่อพระสงฆ์สามารถดำเนินโครงการหรือกิจกรรมในลักษณะที่อย่างเป็นประจำก็จะส่งผลดีประชาชน ครอบครัว สังคม/ชุมชนและประเทศชาติ ตามลำดับ
ดาวน์โหลด
|