บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำป่าสัก ๒) เพื่อศึกษาศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๓) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำป่าสัก ระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบผสม (Mixed Research Method) เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
๑) สภาพทั่วไปของระดับผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำป่าสักส่วน
ใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน ๒๑๕ คน ร้อยละ ๕๓.๗๕ เป็นเพศชายจำนวน ๑๘๕ คน ร้อยละ ๔๖.๒๕ มีอายุ๑๘-๓๐ ปีมีจำนวน ๑๕๘ คน ร้อยละ ๓๙.๕๐ การศึกษาประถมศึกษา ๑๒๓ คน ร้อยละ ๓๐.๗๕ มีรายได้รายได้ตั้งแต่ ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาทมีจำนวน ๑๒๗ คนและอาชีพอื่น ๆ ยังไม่มีอาชีพเป็นนักเรียนและนิสิตมีจำนวน ๑๐๗ คน ร้อยละ ๒๖.๗๕
๒) แนวคิด ทฤษฎีและหลักธรรมอปริหานิยธรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พบว่า พระพุทธเจ้าตรัสแสดงแก่เจ้าชาววัชชีผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม สังคมจะไม่แตกแยกสามารถใช้เกลี้ยกล่อมมิให้เกิดความแตกแยกขัดแย้งยุติความรุนแรงเมื่อนำมาปรับใช้กับการบริหารทรัพยากรน้ำป้องกันปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นรัฐบาลควรส่งเสริมบรรจุไว้ในนโยบายการบริหารจัดประเทศควบคู่กับหลักธรรมาภิบาลซึ่งจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขต่อไป
๓) ปัจจัยที่ส่งผลให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล พบว่า โดยภาพรวมทั้งหมด ๑๐ ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (= ๓.๒๐) สรุปได้คือ ด้านคุณลักษณะคุณธรรมของผู้นำ เป็นที่พึ่งให้กับคนชุมชน น่าเคารพ ศรัทธา มีความน่าเชื่อถือและเสียสะละ ด้านการให้คุณค่าทางสังคมของสมาชิกให้คุณค่าระบบอาวุโส ให้ความสำคัญระบบเครือญาติ สิทธิชุมชน เห็นคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านความตระหนักของสมาชิกมีจิตสำนึกรักท้องถิ่น ภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำนึกถึงความเป็นเจ้าของทรัพยากรน้ำ ตระหนักถึงปัญหาหรือการได้รับผลกระทบร่วมกัน ด้านความใส่ใจในกิจกรรมของชุมชนสนใจรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่จัดขึ้นในชุมชน มีความพร้อมร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ด้านความเข้มแข็งของชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะของหมู่บ้าน สามัคคีทั้งในระดับหมู่บ้านและครัวเรือน แสดงความคิดเห็น ประชาคมเพื่อค้นหาและแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมเรียนรู้ในชุมชน จัดทำแผนชุมชน สมาชิกชุมชนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้านการได้รับการสนับสนุนและการยอมรับ ได้รับสนับสนุนเงินทุน ได้รับการยอมรับจากชุมชนอื่นๆ ศึกษาดูงานต่างถิ่น เข้าร่วมกิจกรรมสาธิต/อบรม ได้รับการยอมจากหน่วยงานภาครัฐ ด้านกระบวนการตัดสินใจขาดข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจดำเนินการได้ งบประมาณที่ได้รับแต่ละปีกระจัดกระจายและหลายหน่วยงานต่างคนต่างทำ ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง กำหนดนโยบายและแผนงาน ไม่มีองค์กรในระดับพื้นที่ ที่เป็นเอกภาพและดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ด้านการรับรู้ข่าวสารการรับรู้ข่าวสารโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ลองลงมาวิทยุ วารสาร/นิตยสาร เอกสารทางราชการ ด้านการกำหนดแผนงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัยพากรน้ำ เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่มีส่วนร่วมที่จะรับรู้ถึงข้อเท็จจริงสมเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น มีส่วนร่วมในการคิดหาแนวทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและปรับปรุง ด้านการบริหารจัดทรัพยากรลุ่มน้ำที่ประชาชนมีส่วนได้ส่วนเสียควรมีส่วนร่วม ในการศึกษาสถานการณ์ทรัพยากรน้ำปัญหาหรือความต้องการน้ำ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกแนวทางเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือสนองความต้องการของชุมชน ในการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ชุมชน ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
๔) ผลองค์ความรู้นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำป่าสัก พบว่าได้ ๔ รูปแบบคือ ๑) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำป่าสัก ๒) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนควรดำเนินการ ๓) องค์กรภายนอกชุมชนเช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน ควรดำเนินการและให้การสนับสนุน ๔) บูรณาการหลักพุทธธรรมประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ดาวน์โหลด |