หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาจุลศักดิ์ จิรวฑฺฒโน (รถน้อย)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแนวพุทธของปราชญ์อีสาน(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาจุลศักดิ์ จิรวฑฺฒโน (รถน้อย) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดสมชาย กนฺตสีโล
  รศ. อุดม บัวศรี
  ผศ. ดร. ดุษฎี อายุวัฒน์
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์เรื่องแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแนวพุทธของปราชญ์อีสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดและวิธีการการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในทางพระพุทธศาสนา แนวคิดและวิธีการการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของปราชญ์อีสาน และเพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปราชญ์อีสานนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารคือคัมภีร์พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีและฉบับแปล ตลอดถึงเอกสาร ตำรา
วิชาการ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากภาคสนามโดยการศึกษาที่บ้านโสกน้ำขาว ตำบลก้านเหลือง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยที่เน้นรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากนั้นนำข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏในเอกสารข้างต้นและที่ปราชญ์อีสานใช้มาวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลจากการวิจัยพบว่าจากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยประสบปัญหาในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นั้น เป็นปัญหาที่ซับซ้อนสืบเนื่องมาจากความผิดพลาดในการพัฒนาที่ผ่านมาที่มุ่งเน้นความเจริญทางเศรษฐกิจตามกระแสโลกตะวันตกมากเกินไป โดยลืมไปว่าสังคมไทยมีพื้นฐานมาจากเกษตรกรรม จึงทำให้ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจขึ้น แต่ก็ยังมีปราชญ์อีสานที่ยืนหยัดบนพื้นฐานดั้งเดิมไม่ดิ้นรนไปตามกระแสโลกวัตถุนิยม มีอุดมการณ์ที่มั่นคงในการทำเกษตรกรรม เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจดังกล่าว ก็สามารถเลี้ยงชีพได้ตามแบบวิถีดั้งเดิมของตนเอง โดยไม่เดือดร้อนและไม่เป็นภาระของบุคคลอื่นในส่วนของแนวคิดและวิธีการทางเศรษฐกิจของพระพุทธศาสนา มี ๒ ประการ คือ การผลิตและการบริโภค ที่เน้นการมีสัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม มีเหตุ มีผล ในการผลิตและบริโภควัตถุเพื่อให้ชีวิตอยู่สร้างประโยชน์แก่สังคม ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติให้คุ้มค่าด้วยปัญญา ไม่ส่งเสริมการผลิตแบบทุนนิยมและบริโภคด้วยตัณหา แต่เน้นให้ผลิตด้วยปัญญาค่อยเป็นค่อยไปตามเหตุปัจจัยและรู้จักประมาณในปัจจัย ๔ ที่สำคัญต้องตั้งอยู่บนประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น อย่างถูกต้องและเป็นธรรมปัจจุบันปราชญ์อีสานได้คิดวิธีการในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรทางธรรมชาติ การนำองค์ความรู้ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านและการทดลองทำเกษตรแบบผสมผสานในโครงการเกษตรประณีต ๑ ไร่ เพื่อให้เกิดความพออยู่พอกินในครอบครัวก่อนแล้วขยายออกไปสู่ชุมชนและภูมิภาคต่อไปปราชญ์อีสานที่เลือกศึกษาวิจัยได้ใช้หลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจโดยเริ่มจากใช้หลักเศรษฐกิจแบบพุทธ คือ ความรู้จักพอประมาณ(มัตตัญญุตา) เพื่อประโยชน์ภายในทางจิตใจ ทางคุณธรรม ทางคุณภาพชีวิต ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุด ได้แก่ ความเป็นอิสระจากปัญหาและความทุกข์ของมวลมนุษย์ จุดเน้น คือ ต้องการยับยั้งความโลภของมนุษย์ซึ่งแสดงออกมาในรูปของการแข่งขัน ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการเอารัดเอาเปรียบการกดขี่ข่มเหง การหลงไหลวัตถุนิยม เป็นบริโภคนิยม นำมูลค่าที่เป็นเงินตรามานำพาคุณค่าของชีวิต ปราชญ์อีสานจึงได้นำหลักธรรม (ปัญญา) มาเป็นคุณค่าของชีวิตแทนเงินตราด้านหลักพุทธธรรมที่ปราชญ์อีสานนำมาใช้ คือ อิทธิบาท ๔ ฆรวาสธรรม ๔ สังคหวัตถุ ๔ เป็นหลักในการทำงาน โดยเฉพาะในด้านการผลิตเพราะเป็นธรรมที่สอดคล้องกับการทำงาน ผลจากการที่ดำเนินตามหลักธรรม ทำให้ปราชญ์อีสานและสมาชิกสามารถอุ้มชูตัวเองได้ สามารถดำรงอยู่อย่างไม่เดือดร้อน มีพอกินพอใช้ มีความสุขจากการทำงาน มีอาหารที่พอเพียง ทำให้ครอบครัวมีความสงบเป็นปกติสุขพ้นจากความเป็นหนี้สิน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอดี พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทาในการดำเนินชีวิต ดำเนินชีวิตแบบพอมีพอกินเป็นสัมมาอาชีวะก่อนเป็นเบื้องต้นจากนั้นจึงพัฒนาไปสู่การกินดีอยู่ดี วิธีการแนวคิดของปราชญ์อีสาน เป็นแนวคิดที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืนด้วยการรู้จัก

Download : 254834.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕