หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กมลทิพย์ ยิ้มจันทร์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : กมลทิพย์ ยิ้มจันทร์ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  สิน งามประโคน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

                                                     บทคัดย่อ
    
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน   ต่อการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ                ราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ ๒. เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัย            มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร                  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๑๗๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean)             และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

    ผลการวิจัย พบว่า
    ๑. ความพึงพอใจที่ผู้ปกครองนักเรียนมีต่อการจัดการเรียนการสอนโรงเรียน              พุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมทุกด้านพบว่า โดยภาพรวม    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรสาระการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน ด้านสวัสดิการ ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน      
              
    
    ๒. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพุทธศาสนา         วันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า
        - ด้านหลักสูตรสาระการเรียนรู้ คือ หลักสูตรควรมีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรควรปรับปรุงให้เป็นมาตรฐาน ทันสมัยอยู่เสมอ
        - ด้านการจัดการเรียนการสอน คือ ควรเตรียมความพร้อมนักเรียนทางด้านภาษา เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ควรมีระเบียบที่ชัดเจนในการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้การเรียน         การสอนภาษาอังกฤษ ควรมีครูที่เป็นชาวต่างชาติมาสอนหรือเชิญชาวต่างชาติมาสนทนา              กับนักเรียนเป็นบางครั้ง
        - ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน คือ ควรมีกิจกรรมการเรียนการสอน    นอกห้องเรียนให้มากขึ้น เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ควรพานักเรียนไปสนทนากับชาวต่างชาติ          และควรมีกิจกรรมการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ นอกจากนี้    ควรมีกิจกรรมนันทนาการในการเรียนการสอน
        - ด้านสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน คือ ควรจัดให้นักเรียนเรียน             อยู่ในอาคารเดียวกัน คือ อาคาร มจร ไม่ควรแยกนักเรียนไปเรียนที่อาคารโรงเรียนวัดมหาธาตุ เพราะทำให้ไม่สะดวกในการเดินทางและต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น นอกจากนี้ควรปรับปรุงเรื่องความสะอาดของห้องน้ำ และครูพระควรมีบทบาทและมีภาวะผู้นำในการดูแลให้คำปรึกษาปัญหาต่าง ๆ แก่นักเรียน
        - ด้านสวัสดิการ คือ ควรจัดหาทุนการศึกษาและอุปกรณ์การเรียนให้แก่นักเรียนเพิ่มมากขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕