หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๔ ครั้ง
พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของพระเทพวรคุณ(สมาน สุเมโธ)(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัติสุนทร
  รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน
  ดร.ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวทางของพระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ) ซึ่งเป็นพระเถระรูปหนึ่งเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งประเด็นที่ศึกษา ดังต่อไปนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท แบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การพัฒนาทางความประพฤติ คือ ทางกาย และวาจา ให้มีศีล (๒) การพัฒนาด้านอินทรีย์ ๖ คือ ให้รู้จักสำรวมอินทรีย์ของตนอย่างมีสติกำกับ (๓) การพัฒนาด้านจิตใจให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (๔) การพัฒนาด้านปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนต่อสรรพสิ่งทั้งปวง ไม่ให้เกิดความลุ่มหลงมัวเมา แต่ให้เป็นอิสระจากสิ่งต่างๆ นอกจากนั้น ก็ได้ศึกษาถึง โทษ(ผลกระทบ) ของการไม่พัฒนาคุณภาพชีวิต คุณค่าของการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งต่อตนและสังคม หลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หลักธรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และบทสรุปการพัฒนาตนตามแนวทางของพระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ) มุ่งศึกษาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านความประพฤติ (ศีล) ด้านจิตใจ และด้านปัญญา มุ่งศึกษา หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ หลักเศรษฐกิจในการพัฒนาตน หลักการปลูกจิตสำนึกในหน้าที่ตามหลักทิศ ๖ หลักการศึกษากับเยาวชน หลักการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท หลักการดำเนินชีวิตด้วยความสุข หลักกรรมและกฏแห่งกรรม และหลักสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิด โทษของการไม่พัฒนาคุณภาพชีวิต ประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิต จากการศึกษา พบว่า ผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพระเทพวรคุณ (สมานสุเมโธ) สงเคราะห์ลงเป็น ๒ ด้าน ได้แก่ (๑) ผลในด้านกายภาพที่มีต่อสังคมและชุมชน (๒) ผลในด้านจิตใจและปัญญาที่มีต่อสังคมและชุมชน ซึ่งในข้อแรก มีผลต่อการพึ่งตนเอง, หน้าที่ในครอบครัว, การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน, การสืบสานประเพณี, โครงการและการพัฒนาองค์กรสงฆ์และชุมชน ส่วนในข้อที่สอง เป็นการส่งเสริมความรู้ด้านปรัชญา และวิชาการทางพระพุทธศาสนา และเป็นการส่งเสริมความรู้เชิงอนุรักษ์

Download : 254830.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕