บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประเพณีการบวชในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาผลกระทบประเพณีการบวชในสังคมไทย ๓) เพื่อศึกษาแนวคิดบริโภคนิยมประเพณีการบวชในสังคมไทย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เป็นทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๒๙ รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันนี้ถึงแม้วาชาวพุทธไทยจะยังคงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา และได้เข้ารับการอุปสมบทเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่เป้าหมายและรูปแบบวิธีการอุปสมบทได เปลี่ยนไปจากเดิม จากการอุปสมบทเพื่อมุ่งบรรลุมรรคผลนิพพานมาเป็นอุปสมบทเพื่อทำตามประเพณี วิธีการอุปสมบทก็ถูกแทรกแซงจากการบริโภคนิยม ความเชื่อ และประเพณีที่ขัดต่อพระบรมพุทธานุญาติ เช่น จากความเรียบง่าย เป็นความฟุ้งเฟ้อ จากการไม่มีพิธีรีตองมาเป็นการเพิ่มพิธีกรรมใหม่เข้าไป เช่น พิธีสูขวัญ การหาฤกษ์ยามในการอุปสมบท รวมถึงการแต่งเครื่องเซ่นไหว้ก็มีปรากฏในพิธีการอุปสมบทในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ห่างไกลออกไปจากหลักการของพระพุทธศาสนาออกไปทุกที และนับวันก็ยิ่งเพิ่มความลี้ลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น พฤติกรรมบริโภคนิยมในประเพณีการบรรพชาอุปสมบทในสังคมไทยปัจจุบันจึงถูกครอบงำจากพิธีกรรม ความเชื่อ และค่านิยมสมัยใหม่จนแทบจะกลืนเป้าหมายของการอุปสมบทที่แท้จริง คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าการอุปสมบทจะต้องประกอบด้วยพิธีกรรมที่ซับซ้อนและจะต้องมีคนมาร่วมงานมาก การจัดงานจะต้องยิ่งใหญ่ มีมหรสพสมโภช จึงจะทำให้การอุปสมบทถูกต้อง จากพฤติกรรมการอุปสมบทของสังคมไทยปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้วิจัยได้มองย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาล เพื่อศึกษาหลักและวิธีการอุปสมบทที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ทำให้การอุปสมบทเปลี่ยนไปจากเดิม และชี้จุดที่ควรแกไขแกสังคม เพื่อปรับรูปแบบและวิธีการใหม่ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ตลอดถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมประเพณีการอุปสมบทไดมีสิ่งใดบ้างที่ถูกกระแสสังคม และการบริโภคนิยมสมัยใหม่เท่าที่สังเกตพฤติกรรมการอุปสมบทของสังคมไทย ปรากฏว่าวัตถุประสงค์ วิธีการ และการบริโภคนิยม รวมถึงแรงจูงใจในการอุปสมบทเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับสมัยพุทธกาล
ผลการศึกษาพบว่า
ในด้านผู้บวช พบว่า ผู้บวชมีวัตถุประสงค์ในการบวชแตกต่างกันและผู้บวชไมทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบวช ในด้านผู้รับบวช พบว่า ปัญหากระบวนการกลั่นกรองผู้บวชของพระอุปัชฌาย์มีความหละหลวม เมื่อบวชเข้ามาแล้วขาดอาจารย์ผู้ให้การแนะนำอบรมทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ เป็นเหตุให้ผู้บวชไมสามารถบรรลุเป้าหมายของการบวชอย่างแท้จริงได
สวนแนวทางการแก้ไขปัญหาการบวชในสังคมไทย สรุปไดดังนี้ ๑. ปฏิบัติตามหลัก พระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ๒. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มาขอบวชอย่างละเอียด ๓. จัดให้มีการศึกษาอบรมทั้งก่อนบวชและหลังบวชโดยมีหลักสูตร รูปแบบ และวิธีการอบรม อย่างชัดเจนเป็นแนวเดียวกัน ๔. พัฒนาสถานที่ และบุคลากรทางพระศาสนาให้มีทั้งคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้า ดังพระพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดาวน์โหลด
|