หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รมณี ลีฬหวณิช
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๘ ครั้ง
การเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์: ศึกษาเฉพาะกรณีพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ชื่อผู้วิจัย : รมณี ลีฬหวณิช ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ทวีศักดิ์ ทองทิพย์
  พระมหาอ้าย ธีรปญฺโญ
  รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธ- ศาสนา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (๒) เพื่อศึกษาการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และ (๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้การเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีในสังคมไทย

ผลการศึกษาพบว่า การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางการสื่อหลักธรรม มีความสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก เนื่องจากสังคมไทยมีแนวโน้มที่จะใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นช่องทางที่ทำให้เข้าถึงผู้คนได้ง่าย รวดเร็ว และในวงกว้าง การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้สอดคล้องกับวิธีการสอนของพระพุทธองค์ แต่ที่จะเลือกใช้ช่องทางนี้ต้องเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมดี มีความรู้เรื่องสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้ควรเริ่มต้นโดยกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจน โดยมีเจตนาที่ดี ใช้ด้วยสติ และปัญญา มีความระมัดระวัง รอบคอบ เพื่อให้การเผยแผ่เกิดประโยชน์สูงสุด

               การเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ พระมหาวุฒิชัย    วชิรเมธี มีหลักการเผยแผ่สอดคล้องกับหลักการสอนที่นิยมโดยทั่วไปคือ สันทัสสนา สมาทปนา   สมุตเตชนา และ สัมปหังสนา มีรูปแบบการเผยแผ่โดยใช้การสื่อสารทางเดียว ประกอบด้วย ๔ รูปแบบคือ  ธัมมีกถา โอวาทกถา อนุสาสนีกถา และ ธัมมเทสนากถา และวิธีการนั้นพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จะมีการวางแผน การเตรียมการ การนำเสนอ และการติดตามผล 

               แนวทางการประยุกต์ใช้การเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ในสังคมไทย พบว่ามีแนวทางที่สังคมไทยสามารถประยุกต์ใช้ได้ เช่นในด้านหลักการ สันทัสสนา ควรมีความคิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน มีวิจารณญาณ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สมาทปนา ควรมีความสามารถในการพูด ใฝ่หาความรู้ พูดเรียกร้องความสนใจได้ สมุตเตชนา ต้องมีความจำที่ดี มีลำดับขั้นในการสอน ชี้ถึงประโยชน์หากปฏิบัติตาม พูดปลุกใจให้กระตือรือร้น        สัมปหังสนา ควรมีอารมณ์ขัน มีทัศนคติเชิงบวก ใช้อุปมาอุปมัย ด้านรูปแบบ ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ มีการประชาสัมพันธ์ และการคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้านวิธีการ แผนงานต้องคำนึงถึงเนื้อหา ความถี่ เวลา กลุ่มเป้าหมาย และความสามารถของบุคลากร การเตรียมการ ต้องเตรียมข้อมูล บุคลากร เครื่องมือ เตรียมสื่อ และกำหนดเวลา การนำเสนอ ต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะกับหลักธรรม และผู้รับหลักธรรม ส่วนการติดตามผล ดูการตอบกลับหรือใช้เครื่องมือวัดผล และการประเมินผลควรทำอย่างสม่ำเสมอ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕