บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรตามหลักไตรสิกขา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรตามหลักไตรสิกขา จำแนกตามความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขการบริหารงานตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูพิเศษ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ของวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จำนวน ๑๖๒ คน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
มีความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานของคณะผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตามหลักไตรสิกขา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๓.๕๕ S.D. = ๐.๖๗) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ได้แก่
๑. ด้านการบริหารตามหลักศีลสิกขา ผลการวิจัย พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= ๓.๗๐ S.D. = ๐.๖๒) รองลงมาด้านการบริหารตามหลักสมาธิสิกขา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= ๓.๕๐ S.D. = ๐.๗๒) และด้านการบริหารตามหลักปัญญาสิกขา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (= ๓.๔๔ S.D. = ๐.๗๖)
๒. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานของคณะผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตามหลักไตรสิกขา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า เพศ บุคลากรที่มีเพศต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตามหลักไตรสิกขา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อายุ บุคลากรที่มีอายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตามหลักไตรสิกขา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
การเปรียบเทียบพหุความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ (Multiple Comparisons) โดยภาพรวมของด้านการบริหารตามหลักศีลสิกขา ด้านการบริหารตามหลักสมาธิสิกขา และด้านการบริหารตามหลักปัญญาสิกขา ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) พบว่า ด้านการบริหารตามหลักศีลสิกขา หลักสมาธิสิกขา และหลักปัญญาสิกขาจำแนกตาม
ระดับอายุ บุคลากรที่มีอายุที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของะผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตามหลักไตรสิกขา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และบุคลากรที่มีอายุใกล้เคียงกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ส่วน ระดับการศึกษา, การดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตามหลักไตรสิกขา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. สำหรับ ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตามหลักไตรสิกขา พบว่า งานบริหารทรัพยากร บุคลากรต้องการให้ปฏิบัติตามกฎของการจัดซื้อ จัดจ้าง ตรวจสอบได้ และใช้จ่ายเงินในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ประเมินผลงานของบุคลากรด้วยความเป็นธรรม งานวิชาการ ต้องการให้มีหลักสูตรที่ทันสมัย จัดนิเทศการสอนครู สนับสนุนทุนวิจัย และให้นำผลวิจัยมาแก้ปัญหาการเรียนการสอน งานกิจการนักเรียนนักศึกษา ต้องการให้มีความยืดหยุ่นในการใช้กฎระเบียบและให้ความเป็นธรรมกับนักเรียน นักศึกษา ให้คำปรึกษา อย่างสม่ำเสมอและมีความเมตตา งานแผนงานและความร่วมมือ ต้องการให้ปฏิบัติให้บริหารงานตามมาตรฐานของ สมศ. มีการติดตามและประเมินผลโครงการของวิทยาลัย และแก้ไขการบริหารงานตามที่ สมศ. แนะนำ และ แนวทางแก้ไข ได้แก่ การส่งเสริม คือ ๑) ให้เพิ่มมาตรการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒) ยึดถือข้อมูลเป็นสำคัญในการบริหารการศึกษา ๓) เร่งรัดการประเมินบุคลากรเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ๔) นิเทศการจัดการสอนของครูอย่างทั่วถึง การติดตาม คือ ๕) ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ ๖) ติดตามการทำงานของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ๗) การพิจารณา คือใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการจัดการศึกษา ๘) นำผลการวิจัยมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ๙) พิจารณาให้สิ่งตอบแทนและลงโทษบุคลากรตามวินัยของราชการ
ดาวน์โหลด
|