การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษานโยบายด้านการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขการบริหารจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนอายุ ๒๐ ปีขึ้นไปเป็นประชากรในการศึกษา โดยเลือกประชาชนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการใช้วิธีการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๗๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) หาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และจากแบบสอบถามปลายเปิด (Open-ended Questionnaire) เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชากรต่อการบริหารจัดการศึกษา ขององค์การบริหารตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท(Content Analysis Techniques) และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth -Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis technique)
จากการวิจัยพบว่า
๑) นโยบายด้านการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา.คือ.(๑).ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการจัดการศึกษา (๒).สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่ม (๓) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา โดยประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา (๔) สนับสนุนอาหารกลางวันและนม ให้กับเด็กนักเรียนอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาสามปี (พ.ศ..๒๕๕๖ - ๒๕๕๘)
๒) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (x= ๓.๕๗, S.D. = ๐.๘๗๙) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับความคิดเห็นได้ดังนี้ ด้านการสนับสนุนอาหารกลางวันและนมให้กับนักเรียนอย่างทั่วถึง มีระดับสูงสุด (x = ๓.๗๘, S.D. = ๐.๘๔๖) รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาการจัดการศึกษา (x = ๓.๕๕, S.D. = ๐.๘๙๑) และที่อยู่ในระดับสุดท้าย คือ ด้านการสนับสนุนการศึกษาโดยประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา (x = ๓.๔๖, S.D. = ๐.๙๑๒) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
๓) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ (๑) ครู-อาจารย์สอนไม่ครบตามเนื้อหาของหลักสูตรเนื่องจากมีเนื้อหามาก และเด็กนักเรียนยังไม่ค่อยเข้าใจในการเรียนหนังสือ (๒) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละหมู่บ้าน และมีงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ (๓) ครูมีจำนวนน้อย และ โครงการที่ดำเนินงานร่วมกับสถานศึกษา บางครั้งขาดการต่อเนื่อง (๔) งบประมาณเพื่อจัดอาหารกลางวันตลอดปีการศึกษามีไม่เพียงพอและวัตถุดิบในการประกอบอาหารมีราคาแพงในบางฤดูกาล ข้อเสนอแนะ (๑) อบต. ควรเข้ามาสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อจะได้เพิ่มเวลาเรียนนอกราชการได้ ควรส่งเสริมให้ครู-อาจารย์ได้ศึกษาเพิ่มพูนเกี่ยวกับทักษะการสอนให้มากขึ้น (๒) อบต. ควรเพิ่มการส่งเสริมการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เพียงพอกับทุกหมู่บ้านและควรสนับสนุนงบประมาณให้มากขึ้น (๓) อบต. ควรสนับสนุนจัดหาครูอาสาเข้าไปช่วยเหลือ และควรมีการกระจายอำนาจในการบริหารงาน ไม่ควรรวมศูนย์อำนาจอยู่เพียงคนเดียว ๔).อบต..ควรจัดหาทุนอาหารกลางวันเพิ่มเติมจากงบประมาณที่มีอยู่โดยการรับบริจาค หรือจัดโครงการเพื่อหารายได้ เป็นต้นและควรจัดทำโครงการเกษตรกรรมเพื่ออาหารกลางวัน เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบในฤดูการที่วัตถุดิบมีราคาแพง
|