หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๗ ครั้ง
รูปแบบการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบตามหลักพุทธธรรม(พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  จำนงค์ อดิวัฒนสิทธื์
  นภัทร์ แก้วนาค
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบตามหลักพุทธธรรม” มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบด้วยทฤษฎีการจ้างงานและหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการจ้างงาน ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบตามหลักพุทธธรรมระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และสนับสนุนด้วยการวิจัยเชิงปริมาณการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)เก็บข้อมูลโดยการรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมโดยผู้วิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งหมด ๓๔ คน ได้แก่ตัวแทนแรงงานนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานครจานวน ๒๐ คน จากตัวแทนนายจ้าง ๘ คน ตัวแทนภาครัฐ ๔ คน ตัวแทนทางด้านพระพุทธศาสนา ๒ รูปได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงการวิจัยเชิงปริมาณได้กาหนดกลุ่มตัวอย่าง ๔๐๐ คนจากแรงงานนอกระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกณฑ์ที่ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง คือ พื้นที่เขตอาศัยกึ่งเมือง และพื้นที่เมืองที่มีผู้ใช้แรงงานนอกระบบจานวนมากที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ เขตคลองเตย และ เขตคลองสามวาจากประชากรแรงงานนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานครมีจานวน ๑.๒๙ ล้านคน วิธีการกาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน ๔๐๐ คนเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น ๐.๙๖ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า
๑. ลักษณะการจ้างงานนอกระบบมีลักษณะการจ้างงานแบบอิสระ ไม่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการ ใช้การเจรจาต่อรองกันด้วยวาจา ไม่มีสัญญาการจ้างงานอย่างเป็นทางการ วิธีการจ้างงานเป็นแบบรายวัน จึงทาให้ลูกจ้างมีรายได้ที่ไม่แน่นอน หลักพุทธธรรมสาหรับการจ้างงานนอกระบบประกอบไปด้วย พรหมวิหาร ๔ หลักธรรมในทิศ ๖ และ สังคหวัตถุ ๔ ส่วนหลักธรรมสาหรับลูกจ้างประกอบด้วย หลักอิทธิบาท ๔ และหลักธรรมในทิศ ๖ เช่นเดียวกัน
๒. สภาพปัญหาและอุปสรรคของการจ้างงานนอกระบบ ประกอบไปด้วย ๑) ปัญหาทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ไม่ได้นาเกณฑ์วัดมาตรฐานฝีมือแรงงานมาใช้ในการจ้างงาน ๒) นายจ้างกาหนดค่าจ้างไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงแรงงาน ๓) การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองแรงงาน แรงงานยังทางานเสี่ยงอันตราย และงานที่ทาไม่มั่นคง อีกทั้งมีรายได้ที่ไม่มั่นคงต่อการยังชีพ ๔) ขาดความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ๕) การมีแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายเข้ามาแย่งชิงตลาดแรงงานนอกระบบด้วยค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าแรงงานนอกระบบที่เป็นคนไทย
๓. รูปแบบการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบตามหลักพุทธธรรมควรเป็นรูปแบบการส่งเสริมแบบพหุภาคี กล่าวคือ เป็นความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ประกอบไปด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคนายจ้าง ภาคแรงงาน รวมทั้งองค์กรภาคพระพุทธศาสนา ร่วมมือกันดาเนินแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ ให้มีทักษะ มีจิตสานึกรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรมในการจ้างงาน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทางาน รวมทั้งค่าจ้างสวัสดิการ แหล่งที่อยู่อาศัยแก่ลูกจ้างนอกระบบอย่างมีเมตตาธรรม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕