หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ประพันธ์ นึกกระโทก
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๗ ครั้ง
ทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง(พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : ประพันธ์ นึกกระโทก ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  อภินันท์ จันตะนี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

         การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  ๒) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของชุมชนพึ่งพาตนเองและความรู้ของชุมชนที่เกิดขึ้นหลังจากมีการจัดการความรู้สู่ชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และ ๓) นำเสนอรูปแบบบูรณาการทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน  การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การศึกษาเอกสาร  การสัมภาษณ์เชิงลึก  การจัดทำองค์กรชุมชนสนทนา  การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  และการใช้แบบสอบถาม

          ผลการวิจัยพบว่า

          ๑. สภาพทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพบว่า ด้านความไว้วางใจเป็นการขอคำปรึกษาจากสมาชิกภายในชุมชน   การขอคำปรึกษาจากพระสงฆ์  ด้านการเงินโดยอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนนำเอาความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ เช่น  การผลิต การตลาด การเงินมาส่งเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนในหมู่บ้านมีองค์กรที่สามารถให้ความช่วยเหลือด้านการเงินยามฉุกเฉินได้ ด้านธรรมชาติมีการนำป่าไม้ในชุมชนมีแหล่งอาหารให้ชาวบ้านดำรงชีวิต มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ใช้พอเพียงสำหรับใช้ทำการเกษตรด้านบุคคลเป็นการนำองค์ความรู้ของบุคคลที่ได้จากการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพการประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวคนในชุมชนได้รับการดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจอย่างทั่วถึงด้านการให้ความรู้มีการพัฒนาการเรียนรู้ครั้งในระบบนอกระบบการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตการสร้างความสมดุลและความพอดีในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตที่หลากหลายด้านโครงสร้างพื้นฐานมีการนำโครงสร้างพื้นฐานมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมที่ชุมชนต้องการ ได้แก่ กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลมีไฟฟ้าครอบคลุมทั่วทั้งหมู่บ้านโทรศัพท์สาธารณะมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน

          ๒. ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และความรู้ของชุมชนที่เกิดขึ้นหลังจากมีการจัดการความรู้สู่ชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนพบว่าการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการประยุกต์ใช้ความรู้รองลงมาคือ  ด้านการแบ่งปันความรู้น้อยที่สุดคือด้านการจัดเก็บความรู้

         ๓. รูปแบบบูรณาการทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน  

             ๓.๑  รูปแบบบูรณาการทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนป่าทาม ชุมชนบ้านอาลอ-โดนแบน รูปแบบการบูรณาการจัดการความรู้รู้สู่ชุมชนขององค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน มีลักษณะการนำทุนทางสังคมมาใช้ควบคู่กับการจัดการความรู้สู่ชุมชนมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปโดยทุนทางสังคมที่ถูกนำมาใช้ได้แก่ความไว้วางใจระหว่างบุคคลผู้เป็นต้นคิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทามซึ่งคิดว่าผู้ริเริ่มไม่ได้มุ่งครอบครองป่าทามแต่เพียงผู้เดียวก่อให้เกิดการใช้ทุนทางบุคคลในชุมชนก่อตั้งเป็นองค์กรเล็กๆในชุมชนมีวัตถุประสงค์หลักคือการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทามโดยรอบชุมชนบ้านอาลอ-โดนแบน และใช้ทุนทางความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนมาทบทวนสร้างกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทามพร้อมกับการใช้ทุนทางการเงินซึ่งภายหลังการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทามเกิดการสร้างเงินสร้างรายได้กลับเข้าสู่ชุมชน

             ๓.๒ รูปแบบบูรณาการทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนรูปแบบการบูรณาการจัดการความรู้รู้สู่ชุมชนขององค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เป็นลักษณะของการดึงทุนทางสังคมการประกอบอาชีพทางการเกษตร  ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน  การจัดการความรู้เกี่ยวกับการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  การถ่ายทอดประสบการณ์การบริหารขยายเป็นเครือข่าย  การดึงทุนทางสังคมควบคู่ไปกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เสริมบทบาทผู้นำในองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามแบบของผู้นำ เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของประชาชน

             ๓.๓  รูปแบบบูรณาการทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนกลุ่มผลิตผ้าห่มนวมบ้านหนองยารักษ์ เป็นลักษณะของการดึงทุนทางสังคมการประกอบอาชีพทางการเกษตร  ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน  การจัดการความรู้เกี่ยวกับการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  การถ่ายทอดประสบการณ์การบริหารขยายเป็นเครือข่าย  การดึงทุนทางสังคมควบคู่ไปกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เสริมบทบาทผู้นำในองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามแบบของผู้นำ  เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของประชาชน

 

 

             ๓.๔  รูปแบบบูรณาการทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน กองทุนชุมชนบ้านถนนหัก  มีการดึงทุนทางสังคมที่เกิดจากตัวบุคคลคือประธานกองทุนชุมชนบ้านถนนหัก  มาใช้เชื่อมโยงกับทุนที่มีอยู่ในสังคมทั้งทุนที่เป็นทรัพยากรบุคคล  ทุนทางการเงินของสมาชิกที่เกิดจากการระดมทุน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาพัฒนาต่อยอดอาชีพในชุมชนสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนควบคู่กันกับกระบวนการจัดการความรู้สู่ชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน  เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เข้ามาเรียนรู้  รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕