หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เสนอ อัศวมันตา
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนนทบุรี(พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : เสนอ อัศวมันตา ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  สมาน งามสนิท
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรค การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ๒) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลัก อปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ๓) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ได้แก่ วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก และสนับสนุนด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จานวน ๓๐๙ คน จากประชากร ๑,๓๒๔ คน โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviations)การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ใช้ข้อมูลหลักเป็นสาคัญ (Key Informants) ซึ่งประกอบด้วย พระสงฆ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา สมาชิกสภาจังหวัด ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ และบุคลากร รวม ๓๑ รูป/คน เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ไม่มีโครงสร้าง (Structured In-depth interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว และจากการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) ของผู้มีส่วนร่วมในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จานวน ๙ ท่าน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพทั่วไปของ การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีการบริหารงานตามหน้าที่การบริหาร การวางกรอบแผนยุทธศาสตร์ การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การบริหารงาน การประสานงาน การติดตามรายงานผลและการจัดทางบประมาณ ปัญหาการประชุมบางครั้งมีการเข้าประชุมไม่พร้อมเพรียงกัน การทางานบางครั้งไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าทาให้สับสนในขั้นตอนการทางาน การควบคุมปฏิบัติงานตามระเบียบ/คาสั่งบางคนไม่เข้าใจ มีการก้าวก่ายงานของคนอื่น การจัดสรรงบประมาณบางโครงการอาจเกินความจาเป็นต่อการบริหารงาน งานบางอย่างมีความสลับซับซ้อน ปัญหาด้านอุปสรรคเป็นจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงของเมืองอย่างรวดเร็ว ผลมาจากการขยายตัวที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูง เกิดความหนาแน่นและแออัด มีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ทาการเกษตรแนวโน้มลดลงเพื่อทาเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหาการคมนาคม ปัญหาด้านการบริการระบบสาธารณูปโภค ปัญหาน้าท่วม ปัญหาน้าเสีย และการกาจัดขยะมูลฝอย ดังนั้น การบริหารจัดการต้องมีการวางกรอบ แผนงานยุทธศาสตร์การจัดองค์กรตรวจสอบ ควบคุม ประเมินผล โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมที่เหมาะสม เพื่อให้องค์กรเป็นระบบระเบียบที่ชัดเจน เพื่อความคล่องตัวในทางปฏิบัติในอนาคต
๒. การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สามารถนาหลักอปริหานิยธรรมไปบูรณาการเข้าไปในทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหาร เพื่อพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ทาให้เกิดการมีส่วนร่วม ความสามัคคีเป็นทีม(Teamwork) และสามารถนามาบูรณาการเข้ากับบริหารงานทั้งในด้านการบริหารจัดการบุคลากร (Staffing) การประสานงาน (Coordinating) และการจัดองค์กร (Organizing) โดยการร่วมแรงร่วมใจเป็นคณะแต่ละฝ่าย เป็นการผนึกกาลัง (Synergy) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และพบว่า อปริหานิยธรรม ๗ เป็นหลักป้องกันความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญขององค์การฝ่ายเดียว องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สามารถนาไปเป็นแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี
๓. แนวทางการนาหลักอปริหานิยธรรมไปบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี พบว่า หลักอปริหานิยธรรม ๗ เป็นแนวทางในการบริหารงานเพื่อให้การทางานเป็นระบบ ระเบียบ/คาสั่งสามารถนาไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีองค์ประกอบด้วย การวางแผนยุทธศาสตร์ การจัดองค์กร การบริหารบุคคล การสั่งการ การประสานงาน การตรวจสอบควบคุมและงบประมาณเข้าไปกากับดูแล โดยยึดหลักคานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและส่งเสริมระบบคุณธรรม ให้มีการทางานเป็นทีม ความสมัครสมานสามัคคี เคารพผู้ใหญ่อาวุโส ไม่รื้อทิ้งกฎเกณฑ์ระเบียบที่ถูกต้องชอบธรรม ธารงรักษาประเพณีวัฒนธรรมจริยธรรมอันดีงามองค์กร และร่วมรับผลประโยชน์สูงสุดจากการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทางปฏิบัติต่อไปอย่างยั่งยืน
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕