งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑) ศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ๓) เพื่อนาเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่าง การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ๑๘ รูป/คน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นแนวทางที่จะนาไปสู่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยจึงได้ทาการสนทนากลุ่มเฉพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป/คน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับกับแนวการพัฒนาดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยาของข้อมูล ผู้วิจัยจึงทาการศึกษาข้อมูลไปสู่การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสารวจ จากกลุ่มตัวอย่าง ๓๒๘ โดยการแจกแบบสอบถาม เพื่อหาสาเหตุและปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้าน การฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ก่อนนาเสนอต่อเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อให้ได้เป็นแนวทางที่เป็นมาตรฐานก่อนที่จะนาเสนองานวิจัยต่อสาธารณะ
ผลการวิจัยพบว่า
๑.สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานะสมรส ร้อยละ ๔๕.๗ เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๗๓.๕ มีอายุระหว่าง ๓๑-๔๐ ปี ร้อยละ ๔๖.๐ มีการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ ๕๙.๑ เป็นข้าราชการ ร้อยละ ๕๔.๖ และมีประสบการณ์ในการทางาน ๖ –๑๐ ปี ร้อยละ ๔๙.๑ สาหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวม พบว่า ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และ
ด้านการพัฒนา รวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ( X = ๓.๐๔,S.D. = ๐.๖๙๘) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
๒.แนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ๑) ด้านการฝึกอบรม จัดโครงการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะ ตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล การฝึกอบรมขั้นศีล คือ ปรับแก้การแสดงออกของพฤติกรรมกาย วาจา ขั้นสมาธิ คือ พัฒนาจิตใจให้มีสภาวะอดทน ขั้นปัญญา คือชี้แนะให้เห็นพฤติกรรมที่ควรกระทาหรือไม่ควรกระทา ๒) ด้านการศึกษา ได้ส่งเสริมให้บุคลากรศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ ขั้นศีลคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย
ระบบการศึกษา ขั้นสมาธิ คือ พัฒนาพฤติกรรมจิตใจให้มี EQ ขั้นปัญญา คือ ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม๓) ด้านการพัฒนา ขั้นศีล คือ ให้การบ่มเพาะพฤติกรรมนิสัยที่ดีงาม ขั้นสมาธิ คือ ฝึกจิตใจให้เป็นไปในทิศทางที่ควร ขั้นปัญญา คือ ส่งเสริมพัฒนาให้มีการศึกษาเพิ่มเติม ส่วนการพัฒนาศักยภาพ คือกลุ่มของความรู้ (knowledge) ทักษะ (skills) และคุณลักษณะ (attributes) ที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งมีผลกระทบต่องานหลักของตาแหน่งงานหนึ่ง ๆ โดยกลุ่มความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะดังกล่าว
สัมพันธ์กับผลงานของตาแหน่งงานนั้น ๆ และสามารถวัดผลเทียบกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นสิ่งที่สามารถเสริมสร้างขึ้นได้ โดยผ่านการฝึกอบรมและการพัฒนา
๓.แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนว
พระพุทธศาสนา ซึ่งมีองค์ประกอบ คือ จะต้องเริ่มจากกระบวนการหรือวิธีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลใน ๓ ด้าน คือ T (training) การฝึกอบรม, E (education) การศึกษา และ D (development)การพัฒนานามาบูรณาการกับหลักพระพุทธศาสนา คือ หลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาจะก่อให้เกิดศักยภาพของบุคลากร ใน ๓ ด้าน คือทางด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤตินิสัยที่พึงประสงค์ ดังนั้น แนวทางการพัฒนานี้สามารถนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการ
พัฒนาศักยภาพบุคลากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะได้แนวทางจากการสังเคราะห์ (SynthesisModel) คือ TED + SSP = KSA
|