หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อากาศ อาจสนาม
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการของพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : อากาศ อาจสนาม ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  นภัทร์ แก้วนาค
  พิเชฐ ทั่งโต
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลของพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ ๒) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาสมรรถนะพยาบาล และหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือและ๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการของพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ

ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ได้แก่ การวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งหมด ๒๕ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยพรรณนาความวิเคราะห์ และการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถามแก่พยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือกลุ่มตัวอย่างจานวน ๒๒๕ คน โดยใช้สถิติต่างๆ ดังนี้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑) สภาพทั่วไปการพัฒนาสมรรถนะพยาบาล พบว่า ด้านจรรยาบรรณ เกณฑ์การประเมิน ตัวชี้วัด การเก็บข้อมูลพื้นฐานยังไม่ชัดเจน และการปลูกฝังจริยธรรม จรรยาบรรณยังมีน้อย ด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ ควรได้รับการสนับสนุนความภาคภูมิใจในความเป็นอาชีพพยาบาล แผนการพัฒนาคุณลักษณะอย่างต่อเนื่องยังไม่ชัดเจน และขาดการปรับตัวอย่างเหมาะสม ด้านการสื่อสาร ทักษะการสื่อสารยังมีน้อย และความรู้ด้านเทคโนโลยีสาหรับการสื่อสาร ภาษา และการให้ข้อมูลความรู้เชิงวิชาชีพยังมีน้อย และด้านสัมพันธภาพ ควรได้รับการเสริมแรง สร้างแรงจูงใจ ให้รางวัล กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดเวลายังมีน้อย และควรได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพ
๒) แนวคิด และทฤษฎีการพัฒนาสมรรถนะที่นามาใช้ในการกาหนดทิศทางสาหรับดึงและผลักพลังความรู้ พลังทักษะ พลังศักยภาพส่วนตัว พลังความสามารถ และพลังคุณลักษณะอื่น ๆ ของพยาบาลวิชาชีพออกมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ และจะต้องขึ้นอยู่กับระบบการพัฒนาอย่างถูกกระบวนวิธีการจนสามารถทาให้องค์กรมั่นใจและช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรซึ่งเมื่อนาอิทธิบาทธรรม ๔ ประการที่อยู่ในรูปของกระบวนวิธีการที่มีประสิทธิภาพก็ยิ่งทาให้สมรรถนะพยาบาลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพตามแนวทางพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น คือ ทาให้พยาบาลมีความรักในอาชีพของตนเอง มีการปลูกพลังความเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ มุ่งมั่น มั่นคงในอาชีพที่ตนเองได้เลือกที่จะดูแลผู้ป่วยอย่างไม่ท้อถอย และการใช้ความคิดในใคร่ครวญ การคิดพินิจ
พิจารณาเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเมื่อนามาบูรณาการจะพบการเปลี่ยนที่สาคัญกล่าวคือ หลักอิทธิบาทจะเข้าไปช่วยให้การพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลประสบความสาเร็จตามที่องค์กรได้กาหนดไว้และผลักดันภารกิจอื่น ๆ ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีความสอดคล้องกันมากที่สุด
๓) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาล ด้านจรรยาบรรณที่ใช้กระบวนการตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า ด้านฉันทะ พบว่า มีความรักในอาชีพที่ต้องดูผู้ป่วยและรักผู้อื่น ด้วยการกาหนดแผนการดูแลและการบารุงขวัญกาลังใจพยาบาล ด้านวิริยะ พบว่า มีความเพียรปฏิบัติหน้าที่เพื่อการดูแลผู้ป่วยและดูแลตนเองด้วยการจัดทีมในการให้คาปรึกษาแก่พยาบาล ด้านจิตตะ พบว่า การปลูกฝังอุดมการณ์ ด้วยการสอนงานด้วยหัวใจและมอบทักษะการดูแลตนเอง และด้านวิมังสา พบว่า ความรู้และการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ด้วยการจัดระบบการเพิ่มความเชื่อมั่นของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่และจรรยาบรรณ ด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า ด้านฉันทะ พบว่า การกระตุ้นอุดมการณ์ทางวิชาชีพ ด้านวิริยะ พบว่า กาหนดกระบวนการสร้างแรงจูงใจด้วยความก้าวทางวิชาชีพ ด้านจิตตะ พบว่า การปลูกฝังเมตตา กรุณา และด้านวิมังสา พบว่า การส่งเสริมการมีส่วนร่วม ด้านการสื่อสารตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า ด้านฉันทะ พบว่า การสื่อสารด้วยหัวใจ ด้านวิริยะพบว่า การสื่อสารด้วยความรู้ใจ ด้านจิตตะ พบว่า การสื่อสารด้วยความมีเมตตา กรุณา ด้านวิมังสา พบ ความฉลาดในการสื่อสารกับผู้ป่วย และด้านสัมพันธภาพตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า ด้านฉันทะ พบ การส่งเสริมความเสมอภาคและความเคารพต่อผู้อื่น ด้านวิริยะ พบ การใช้ความเพียรอย่างเหมาะสมในการสร้างสัมพันธภาพ ด้านจิตตะ พบว่า การปรับเจตคติที่ดีต่อผู้อื่น และด้านวิมังสา พบว่า การทางานด้วยระบบทีมงานที่มีปัญญา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕