หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณรัฐ สวาสดิ์รัตน์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพราน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักพุทธธรรม (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร))
ชื่อผู้วิจัย : ณรัฐ สวาสดิ์รัตน์ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภินันท์ จันตะนี
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามหลักพุทธธรรม” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรม และทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพรานและ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสา สมัครทหารพรานที่เหมาะสมที่สุดให กับกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยใช วิธีศึกษาวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๔๐๐ คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด วยค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. (Standard Deviation) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์)เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวน ๒๕ รูป/คน ประกอบด้วยผู้บังคับบัญชา,พระสงฆ์),ผู้ นำท้องถิ่น,ประชาชนผู้ ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของทหารพราน,อาสาสมัครทหารพราน และจากการสนทนากลุ่มเฉพาะ( Focus Group Discussion) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๘ รูป/คน ประกอบด้วย พระสงฆ์), นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยปฏิบัติงานกับหน่วยทหารพราน
ผลการวิจัยพบว่า
ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ ๗๘.๕ อยู่ในวัยฉกรรจ์คือมีอายุระหว่าง ๒๖ - ๓๕ ปีคิดเป็นร้อยละ ๔๙.๕ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๗๘.๕ และมีสถานโสดร้อยละ ๕๖.๙ นอกจากนั้นในด้านการศึกษาพบว่าประชากรมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปqที่๖ ร อยละ ๔๓.๘ ซึ่งแสดงถึงความพร อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและด้านปัญญา สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดารและสถานการณ์อันตราย ผลการวิจัยในภาพรวม ด้านกายภาวนามีค่าเฉลี่ยรวม ( X = ๔.๐๖) ด้านศีลภาวนามีค่าเฉลี่ยรวม ( X = ๔.๑๗) ด้านจิตภาวนามีค่าเฉลี่ยรวม ( X = ๔.๐๖)และด านปัญญาภาวนามีค่าเฉลี่ยรวม ( X = ๔.๐๘)
๑. สภาพปัญหาและอุปสรรค พบว่าในภาพรวมไม่มีปัญหาและอุปสรรคมากนัก แต่ปัญหาด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยรวมต่ำกว่าทุกด้าน นอกจากนั้นสถานการณ์และสภาพแวดล อมก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาจิตใจให ดำเนินการพัฒนาได อย่างราบรื่นนัก การฝกฝน อบรม กล่อมเกลาจึงเป็นภาระของผู บังคับบัญชาจะต้องดูแลใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิด
๒. การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักพุทธธรรมที่เหมาะสำหรับการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครทหารพราน พบว่า การนำหลักภาวนา ๔ มาใช้เป็นแนวทางหลัก จะทำให้การพัฒนาศักยภาพสามารถดำเนินการได้แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยก็ตาม นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนาได้ครบทุกด้านทั้งร่างกาย ระเบียบวินัยจิตใจและปัญญาปฏิภาณไหวพริบ ผู้ บังคับบัญชาสามารถทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งของกำลังพลในหน่วย พัฒนาได้ตรงจุด โดยใช้แนวคิด ในกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ๓ กรรมคือ การฝึกอบรม การให้การศึกษาและการพัฒนา
๓. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพตามหลักพุทธธรรมนั้น พบว่าการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทหารพราน จะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไปเพราะบุคคลมีศักยภาพภาพทางร่างกาย, จิตใจและปัญญาไม่เท่ากัน การพัฒนาศักยภาพนอกจากจะพิจารณากำหนดมาตรฐานแล ว จึงต องพิจารณาถึงห วงระยะเวลา การสนับสนุน ขวัญกำลังใจและไหวพริบปฏิภาณของแต่ละคนด วย การพัฒนาศักยภาพที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง ๔ ด้าน สำหรับรูปแบบการพัฒนาศักยภาพตามหลักพุทธธรรมนั้น เป็นรูปแบบที่สามารถประกันได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาจะออกมาในรูปแบบของการมีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความเจริญงอกงามไปในทางที่ดีแก่ตัวผู้ รับการพัฒนาและเป็นคุณแก่สังคมส่วนรวม ซึ่งจะส่งผลถึงการยุติความรุนแรงที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ สงบเบาบางลง สังคมมีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันและเกิดความสงบสุข ความสามัคคีในประเทศชาติได้ในที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕