การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒)เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนต่อการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ๓)เพื่อนาเสนอการพัฒนาการบริหารหลักสูตรวิชารัฐศาสตร์ที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารทั้งสิ้น ๒๐ รูปหรือคนการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ(Focus Group Discussion)จานวน ๑๐ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสารเนื้อหา (Content Analysis) และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง๒๗๘ ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
๑.สภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า การบริหารหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ยังขาดการบูรณาการองค์ความรู้สาขาวิชารัฐศาสตร์กับองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น ยังมีปัญหามากที่ทาให้การบริหารหลักสูตรไม่ประสบผลสาเร็จ การประเมินผลหลักสูตรโดยเฉพาะสาขาวิชารัฐศาสตร์ไม่เป็นไปตามสิ่งที่มุ่งหวัง และอาจารย์ประจาหลักสูตรยังมีไม่เพียงพอ
๒.ปัจจัยที่สนับสนุนต่อการบริหารหลักสูตรวิชารัฐศาสตร์ที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าประกอบด้วย ๕ ด้าน ได้แก่ ๑)ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนสามารถสร้างเอกลักษณ์ของสถาบันเข้าใจหลักสูตรบูรณาการรายวิชา ๒) ด้านบุคลากร อาจารย์ประจาจบตรงสาขาวิชา ผู้สอนมีความรู้และองค์ความรู้เชิงความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ๓) ด้านการส่งเสริมวิชาการ จะต้องทางานแบบเชิงรุกและรับ หาแหล่งค้นคว้าข้อมูล การพัฒนาความรู้และผลงานวิชาการ ๔)ด้านการวัดและประเมินผลต้องมีกฎเกณฑ์ ระเบียบเผยแพร่เอกสารกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเมินผลและ ๕)ด้านงบประมาณต้องมีแผนกลยุทธ์ทางการเงินแผนป้องกันความเสี่ยงแผนจัดหาครุภัณฑ์ที่ทันสมัย
๓. การพัฒนาการบริหารหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า
๑.ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนตามหลักอปริหานิยธรรมพบว่า มีองค์ประกอบ ๗ ประการ ได้แก่ ๑)การประชุม ๑ เดือน/ครั้ง ๒)การรับรู้ความคิดร่วมกัน ๓)ทุกคนสามารถปฏิบัติมีมาตรฐานเดียวกัน ๔)การส่งเสริมสิทธิสตรีให้มากขึ้น ๕)ประธานมีภาวะผู้นาดี ๖)เนื้อหาวิชาการมุ่งให้คุณค่าต่อการบูชา และ ๗)มีการยกย่องคุณความดีต่อบุคลากร
๒.ด้านบุคลากรตามหลักอปริหานิยธรรมพบว่ามีองค์ประกอบ ๗ ประการ ได้แก่ ๑)กาหนดแผนการประชุม ๒)ระบบทีมงาน ๓)บุคลากรสามารถเป็นต้นแบบทางวัฒนธรรม ๔)มีข้อตกลงร่วมกัน ๕)ให้ความสาคัญต่อคนดี ๖)รับฟังความคิดเห็นประธานและ ๗)บุคลากรมีเมตตากรุณาต่อกัน
๓.ด้านการส่งเสริมวิชาการตามหลักอปริหานิยธรรมพบว่ามีองค์ประกอบ ๗ ประการ ได้แก่ ๑)ประชุมเพื่อวิเคราะห์สาขาวิชา ๒)ทาให้ทุกคนทราบเป้าหมายเดียวกัน ๓)มุ่งสร้างคุณค่าต่อสถาบันท้องถิ่น ๔)กรอบกาหนดเงื่อนไข ๕)ระยะเวลาการผลิตผลงานวิชากรด้านสตรี ๖)การสร้างต้นแบบทางวิชาการ และ ๗)การยกย่องและให้กาลังใจผู้มีผลงานทางวิชาการ
๔.ด้านการวัดผลและประเมินผลตามหลักอปริหานิยธรรมพบว่ามีองค์ประกอบ๗ ประการได้แก่ ๑)กาหนดเกณฑ์ที่มีคุณภาพ ๒)บุคลากรรู้วิธีวัดและประเมินผล ๓)เกณฑ์การประเมินตามบุคคลที่สาคัญในท้องถิ่น ๔)รูปแบบการวัดและประเมินผลตามเกณฑ์ของ สกอ. ๕)การมอบหน้าที่ให้กับสตรีรับผิดชอบ ๖)ผู้นาทราบถึงวิธีการวัดและการประเมินผลและ ๗)การให้เกณฑ์คนไม่เก่งแต่ดี ขยัน
๕.ด้านงบประมาณตามหลักอปริหานิยธรรมพบว่ามีองค์ประกอบ ๗ ประการ ได้แก่ ๑)จัดทาแผนรายจ่ายประจาปี ๒)การจัดทางบประมาณร่วมกัน ๓)การจัดหางบประมาณจัดสร้างอนุสาวรีย์ ๔)การควบคุมงบประมาณให้คุ้มค่า ๕)การยกย่องคนดี และการข่มคนไม่ดี๖)มอบหมายให้สตรีควบคุมด้านงบประมาณและ ๗)บุคลากรเคารพต่อตัดสินใจส่วนงบประมาณ
|