การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมขอคณะสงฆ์ไทย (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงครามในปัจจุบัน (๓) เพื่อนาเสนอแนวทางการพัฒนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของคณะสงฆ์ในจังหวัดสมุทรสงครามระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จานวน ๒๙ รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จานวน ๘ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการเมืองอย่างมากทาให้มีผู้มองศาสนาในแง่ต่างๆ ทั้งในแง่ดีหรือแง่บวกและในแง่ร้ายหรือแง่ลบก็ตาม แต่พุทธศาสนาก็ยังนับว่ามีอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่มากในจิตใจของคนไทย และแสดงออกมาในรูปของโบราณสถานโบราณวัตถุ ประเพณี นิสัย ศิลปวัฒนธรรม หรือความเมตตาปรานี และความโอบอ้อมอารี สิ่งเหล่านี้อาจเรียกว่าเป็นลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งเป็นลักษณะอันเนื่องมาจากพุทธศาสนาจึงถือว่าสังคมไทยก็คือสังคมพุทธนั่นเอง ผู้ที่มีส่วนสาคัญในการผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมพุทธตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็คือ พระสงฆ์ สถาบันสงฆ์จึงเป็นสถาบันจารีตที่มีความสาคัญยิ่ง พระสงฆ์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีบทบาทสาคัญในวิถีชีวิตของชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ทั้งทางด้านศีลธรรมจรรยาและกิจกรรมทางโลก พระสงฆ์เป็นหนึ่งในรัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นเสมือนตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสถาบันพระพุทธศาสนาที่ขาดเสียไม่ได้ ในชีวิตประจาวันของพุทธศาสนิกชน นอกจากจะเป็นที่พึ่งพิงทางใจ ชี้นาทางศีลธรรมจรรยาโดยชี้ให้ทานาให้ดู และเป็นสถาบันที่เอื้ออานวยบริการทางศาสนกิจ ศาสนพิธีแล้ว พระภิกษุสงฆ์ยังทาหน้าที่ส่งเสริมรักษาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและให้บริการด้านอื่นๆ ที่กลไกของรัฐบาลเข้าไปให้บริการไม่ทั่วถึง ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมกลไกของรัฐให้บรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้นและทั้งยังมีส่วนช่วยสังคมในด้านต่างๆ อีกด้วย
๒. สภาพปัญหาการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม สืบเนื่องมาจากผลกระทบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีทั้งความหลากหลายและรวดเร็วในการรับข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในการพัฒนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดสมุทรสงคราม ปัญหา ๖ ด้าน คือ ๑) ด้านสภาพแวดล้อม ๒) ด้านพุทธศาสนพิธี/พิธีกรรม ๓) สื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๔) แหล่งการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ๕) กิจกรรมเชิงวิชาการในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และ ๖) เครือข่ายภาคีทางศิลปวัฒนธรรม อันส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมามากมาย
๓. การพัฒนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อดาเนินงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้บรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมทั้ง ๖ ด้าน คือ ๑) ด้านสภาพแวดล้อม ๒) ด้านพุทธศาสนพิธี/พิธีกรรม ๓) ด้านสื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๔) ด้านแหล่งการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ๕) ด้านกิจกรรมเชิงวิชาการในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และ ๖) ด้านเครือข่ายภาคีทางศิลปวัฒนธรรม หลักพระพุทธศาสนา เป็นรากฐานสาคัญของศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนามาช้านาน และหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา ได้หล่อหลอมซึมซับลงในวิถีไทย กลายเป็นรากฐานวิถีชีวิตของคนไทยในทุกด้าน ทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน เพื่อให้คนประพฤติดี ประพฤติชอบ สร้างความเจริญดีงาม และความมั่นคงทางจิตใจ เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและสังคม ซึ่งหากคนในสังคมเกิดความเสื่อมใสศรัทธาตามหลักพุทธธรรมพระพุทธศาสนา ก็จะทาให้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
|