การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรม ๒) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมคณะสงฆ์ภาค ๑ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จานวน ๑๘ รูป/คน โดยสัมภาษณ์เจาะลึก(In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) จานวน ๘ รูป/คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า
๑) แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนา มีกระบวนพัฒนาการจัดการศาสนศึกษาโดยนาแผนงานเชิงกลยุทธ์เข้ามาทาการวิเคราะห์สถานการณ์ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS ประกอบด้วย ๔ อย่าง คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและปัญหาอุปสรรค มาดาเนินการวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านสื่ออุปกรณ์การสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล
๒) สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑ พบว่า พระสังฆาธิการในทุกระดับชั้นให้ความร่วมมือกันดี มีกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ โน้มน้าวผู้เรียนให้เข้าถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างแท้จริง ทาให้มีครูที่มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว และมีปริมาณอย่างเพียงพอต่อการเรียนการสอน เพราะอยู่ในศูนย์กลางทางการศึกษา ปฏิรูปเทศดีกว่าต่างจังหวัด โดยมีกระบวนการเรียนการสอน ที่มีการจัดทาแผนการสอนตามแผนยุทธศาสตร์ มีเทคนิควิธีที่สามารถสอนให้จูงใจ แจ่มแจ้ง แกล้วกล้า ให้บุคลากรผลิตสื่อที่มีคุณภาพ แล้วนาสื่อไปปรับใช้เพื่อให้เกิดศักยภาพทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และส่งผลให้คณะสงฆ์มีการวางแผนในการตรวจสอบการสอบวัดผลประจาปีที่รัดกุมและจริงจังต่อการกากับดูแล
๓) แนวทางการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมคณะสงฆ์ภาค ๑ พบว่า ๑) ด้านหลักสูตร ควรมีการพัฒนาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสายสามัญ ๒) ด้านครูผู้สอน ต้องเป็นครูมืออาชีพ มีการศึกษา อบรมและพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ๓) ด้านกระบวนการเรียนการสอน ที่มีคุณภาพ และควรปรับระยะเวลาการสอนให้เพิ่มมากขึ้น ๔) ด้านสื่ออุปกรณ์การสอน ควรนาเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัยมาประยุกต์ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการนาไปใช้ ๕) ด้านการวัดผลและประเมินผล ต้องมีรูปแบบเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศเพื่อให้เกิดผลที่ชัดเจน
|