หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ))
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั่งโต
  สุรพล สุยะพรหม
  ภัทรพล ใจเย็น
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักพุทธธรรมและหลักวิธีการบริหารจัดการวัดของคณะสงฆ์ไทย (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพและปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการวัดของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ (๓) เพื่อนาเสนอการบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จานวน ๒๕ รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก(In-depth Interview)และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน ๑๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า
๑. การบริหารจัดการวัดของคณะสงฆ์ ในยุคสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ผู้บริหารคณะสงฆ์ย่อมมีการพัฒนาการด้านเทคโนโลยี บูรณาการด้วยหลักพุทธธรรมนาการบริหาร/การปกครองไปพร้อมกับความเจริญ และมีกฎหมาย พระราชบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ มาเกื้อกูลพระธรรมวินัย โดยเฉพาะการบริหาร/การปกครองวัดมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากสมัยก่อนมาก เช่น ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการมีรูปแบบที่ปฏิบัติชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รูปแบบแนวคิดและวิธีการในการบริหารจัดการวัด ชื่อว่ามีส่วนสาคัญยิ่งในการบริหารจัดการให้องค์กรคณะสงฆ์ให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ฉะนั้นผู้ที่จะเป็นผู้นาในการบริหาร/การปกครองวัดและคณะสงฆ์ในยุคปัจจุบันนี้ต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ ความเสียสละ และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรข้อปฏิบัติ เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์และสังคมโดยรวม และที่สาคัญจะต้องเป็นนักปกครองที่มีความซื่อสัตย์ยุติธรรม ต้องเว้นจากความมีอคติทั้งปวง ตั้งมั่นในหลักพรหมวิหารธรรมเป็นแกนหลักของการบริหาร/การปกครองอยู่เสมอ วัดในซึ่งเป็นฐานรากอันสาคัญของคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนาก็จะเกิดความมั่นคง นั่นย่อมส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญมั่นคง
๒. การบริหารจัดการวัดขององค์กรคณะสงฆ์ภาค ๑๕ มีประเด็นสาคัญ ๗ ประการ ได้แก่ ด้านระบบและรูปแบบในการบริหารจัดการวัด ปัญหาด้านผู้นาในการบริหารจัดการวัด ด้านการจัดบุคลากรในการบริหารจัดการวัด ด้านงบประมาณในการบริหารจัดการวัด ด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ในการบริหารจัดการวัด ด้านสภาพแวดล้อมโบราณวัตถุ/พุทธศิลป์/อาคารสถานที่/ภูมิทัศน์ธรรมชาติ และปัญหาความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานของรัฐ อันเป็นปัญหาที่สาคัญใหญ่หลวงสาหรับวัดและคณะสงฆ์ในภาค ๑๕
๓. การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ในการบริหารกิจการงานคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้าน คือ ๑) ด้านการปกครอง ๒) ด้านการศาสนศึกษา ๓) ด้านการเผยแผ่ ๔) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ๕) ด้านการสาธารณูปการ และ ๖) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ แบบ 5M ได้แก่ (๑) บุคคล (M1 : Man) (๒) เงิน (M2 : Money) (๓) วัสดุอุปกรณ์ (M3 : materials) (๔) การจัดการ (M4 : Management) และ (๕) คุณธรรม (M5 : Moral) เป็นการบริหารจัดการวัดที่เหมาะสมดีงามมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการของพระภิกษุสามเณรภายในวัดเป็นสาคัญ เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดับต้นซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารจัดการวัดในด้านต่าง ๆ เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นผู้นาเบื้องต้นนับเป็นปัจจัยสาคัญในการนาองค์กรไปสู่เป้าหมายแห่งความสาเร็จ ทั้งนี้ เพราะเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญในการตัดสินใจ กาหนดนโยบายและบริหารบุคลากรในองค์กรให้ทางานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรจาเป็นจะต้องมีความสามัคคีและทางานให้สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้นาและผู้ตาม เจ้าอาวาสนั้นมีภารกิจการบริหารจัดการวัดตามอานาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามภารกิจของคณะสงฆ์ ๖ ด้านคือ ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ เจ้าอาวาสที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวมีภาวะผู้นา มีกระบวนการและวิธีปฏิบัติงาน สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน รวมทั้งมีการพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์พร้อมในด้านพระธรรมวินัย จะส่งผลโดยตรงต่อศรัทธาความเชื่อถือของพุทธศาสนิกชน ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติศาสนกิจทุกอย่างบรรลุตามวัตถุประสงค์โดยง่าย เจ้าอาวาสจึงต้องมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการวัดในทุก ๆ ด้าน โดยให้พระภิกษุสามเณรในวัดทุกรูปได้ศึกษาและปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ ให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรมการศาสนา กล่าวว่า การบริหารวัด คือการปกครองบังคับบัญชากากับดูแล แนะนา สั่งสอนภิกษุสงฆ์ สามเณร และฆราวาสผู้อยู่ในวัดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ให้อยู่ในศีลธรรมอันดี และดาเนินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ของวัด ให้สาเร็จด้วยดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เจ้าอาวาสจึงต้องมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการวัดทุกด้าน โดยให้พระภิกษุสามเณรในวัดทุกรูปได้ศึกษาและปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การบริหารจัดการวัดที่ดีมีคุณภาพจึงเป็นหลักทาให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงยั่งยืนสืบต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕