การศึกษา เรื่อง การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ (๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ และ (๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหาร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารและบุคลากร จำนวน ๒๕๒ คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance)
ผลการศึกษา พบว่า
ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาให้ความสำคัญต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาให้ความสำคัญต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก ทุกข้อ เรียงจากมากไป หาน้อย ได้แก่ ด้านมุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ด้านกรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ด้านเมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุขและด้านอุเบกขา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีหรือการมีความสุขตามลำดับ
ผลการศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร ๔ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร ๔ ด้านเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ด้านกรุณา ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ด้านมุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี และด้านอุเบกขา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕
แนวทางการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ ด้านเมตตา จัดทำวางแผนงานการบริหารงานวิชาการร่วมกับบุคลากรอย่างเปิดเผย สนับสนุนบุคลากรให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองด้านกรุณา ช่วยเหลือบุคลากรด้านต่าง ๆ อย่างจริงใจ เมื่อประสบปัญหา ด้านมุทิตา ควรแสดงความยินดีกับบุคลากรเมื่อประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน ด้านอุเบกขา ควรลงโทษบุคลากรที่ละเมิดกฎระเบียบอย่างจริงอย่างยุติธรรม
ดาวน์โหลด
|