การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าอาวาสที่อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรจำนวน ๒๑๔ รูป ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัยในการศึกษา ความคิดเห็นของเจ้าอาวาสต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุตั้งแต่ ๓๑ – ๓๕ ปี จำนวน ๗๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๙๒ มีพรรษา ๑๑ – ๒๐ พรรษา จำนวน ๑๑๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๒๑ มีการศึกษาทางธรรม จบนักธรรมชั้นเอก จำนวน ๒๑๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๕๓ มีการศึกษาทางเปรียญธรรม ที่ยังไม่ได้เปรียญธรรม จำนวน ๑๖๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๑๗ และจบการศึกษาทางโลก ปริญญาตรี จำนวน ๑๐๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๑๓ พบว่า เจ้าอาวาสมีความคิดเห็นต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= ๔.๐๓) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า เจ้าอาวาสมีความคิดเห็นต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ทักษะด้านความคิด (x= ๔.๐๘) อยู่ในระดับมาก ทักษะด้านความคิดรวบยอด (x= ๔.๐๗) ทักษะด้านการสอน (x= ๔.๐๗) ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (x= ๔.๐๔) ทักษะด้านเทคนิค (x= ๓.๙๑) อยู่ในระดับน้อยสุด
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของเปรียบเทียบความคิดเห็น ของเจ้าอาวาสต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้วพบว่า เจ้าอาวาสที่มีการศึกษาทางโลกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้สำหรับในด้าน อายุ พรรษา การศึกษาทางธรรม และการศึกษาทางเปรียญธรรม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ คือการสนับสนุนและส่งเสริมให้เจ้าอาวาสควรศึกษาในด้านการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาเขตปกครองในเขตปกครองจังหวัดพิจิตร โดยสรุปได้ดังนี้ ๑). ในทักษะการบริหารจัดการศึกษา เจ้าอาวาสควรมีการกระตุ้นบุคลากรให้มีการพัฒนาการการใช้ทักษะการบริหารการจัดการการศึกษา เมื่อเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรเกิดความรู้และเข้าใจในการบริหารงาน ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและทำให้เกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด ๒). ในทักษะการบริหารจัดการศึกษา เจ้าอาวาสควรให้ความสำคัญในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในองค์กรทุกระดับ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมไทย ๓). ในทักษะการบริหารจัดการศึกษา เจ้าอาวาสควรมีความสม่ำเสมอภาคในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่เลือกปฏิบัติกับผู้ใต้บังคับบัญชา ๔). ควรที่จะมีการเพิ่มเครื่องมือในการทำวิจัยให้มากขึ้น นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เช่น การสังเกตพฤติกรรม หรือการสนทนากลุ่ม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ให้ได้ผลตรงกับทักษะการบริหารการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นไป
|