หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเฉลิมพงศ์ จรณสมฺปนฺโน (แก้วกัณหา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระเฉลิมพงศ์ จรณสมฺปนฺโน (แก้วกัณหา) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลัก   สัปปุริสธรรม ๗ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์  โดยจำแนกตามข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคล ๓) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตาม  หลักสัปปุริสธรรม ๗ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๗๑ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mix Method Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Resea) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สัมภาษณ์แบบโครงสร้าง (Structrue Interview) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที       (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้         

ผลการวิจัยพบว่า

. ความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน ๘๑ คน     คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๙๐ ผู้มีอายุอยู่ ๒๑ ๓๐ ปี จำนวน ๕๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๖๐ ผู้มีตำแหน่งครู จำนวน ๑๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๙๐ ผู้มีระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า จำนวน ๑๕๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๙.๙๐ ผู้มีประสบการณ์การทำงาน ๕  ปี ขึ้นไป จำนวน ๑๐๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๐๙ 

๒. ความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ อำเภอ    แม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมมีความเห็นอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๕) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า มีความเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน

๓. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ครูและเจ้าหน้าที่ที่มีเพศ  ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ แตกต่างกัน ส่วนครูและเจ้าหน้าที่ที่มีอายุและตำแหน่ง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตาม     หลักสัปปุริสธรรม ๗ ไม่แตกต่างกัน

๔. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ๑) ผู้บริหารใช้กฎระเบียบวินัยและเหตุผลมากเกินไป ๒) ผู้บริหารขาดเป้าหมายในการบริหารสถานศึกษา ๓) ผู้บริหารขาดความเชื่อมั่นในการบริหารสถานศึกษา  ๔) ผู้บริหารใช้งบประมาณในการบริหารสถานศึกษาเกินงบประมาณที่มีอยู่ ๕) ผู้บริหารจัดทำโครงการไม่ถูกต้องกับจังหวะเวลา ๖) ผู้บริหารไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนในองค์กร ๗) ผู้บริหารใช้บุคลากรไม่เหมาะสมกับงาน

สำหรับข้อเสนอแนะ คือ ๑) ควรใช้หลักการและเหตุผลให้ตรงกับสถานการณ์ ๒) ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการบริหารสถานศึกษา ๓) ควรสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ๔) ควรใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างเหมาะสมกับโครงการ ๕) ควรจัดทำโครงการให้ตรงกับระยะเวลาที่เหมาะสม ๖) ควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ๗) ควรใช้บุคลากรให้เหมาะสมกับการงาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕