การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์และเปรียบเทียบการนำหลักไตรสิกขา ไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนเทศบาล ๑ จังหวัดนครนายก โดยศึกษาว่านักเรียนนำหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิและปัญญา) ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การบริโภคอาหาร การศึกษา การออกกำลังกาย การพักผ่อนและมีจิตอาสา เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับชั้น อาชีพผู้ปกครอง การอบรมสั่งสอนของผู้ปกครอง ว่าแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๓๕๘ คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามมีมาตราส่วนแปรค่า ๕ ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบความสัมพันธ์ของ ไค-สแควร์ (chi-square) ทดสอบที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ของเซฟเฟ่ (Scheffe’s Method)
ผลการศึกษาพบว่า
. ๑. โดยศึกษาว่านักเรียน ได้การนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากดังนี้ (๑.๑) ด้านการบริโภคอาหารและด้านการออกกำลังกาย ได้นำหลักไตรสิกขาไปใช้ในชีวิตประจำวันเรียงลำดับด้วยปัญญา สมาธิ และศีล (๑.๒) ด้านการศึกษาและด้านการพักผ่อน เรียงลำดับด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา (๑.๓) ด้านจิตอาสาเรียงลำดับด้วย ปัญญา ศีล และสมาธิ
๒. การนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับอาชีพของผู้ปกครองและฐานะเศรษฐกิจของครอบครัว.................... ๓. การนำหลักไตรสิกขาไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับชั้น และการอบรมสั่งสอนของผู้ปกครอง
|