การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของพระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของพระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของพระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ซึ่งสังกัดเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมจำนวน ๒๔๘ คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติร้อยละสำหรับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับระดับความคิดเห็น ข้อมูลจากการบันทึกภาคสนามใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. บทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของพระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= ๓.๗๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของพระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ด้านบุคลากร (x= ๓.๗๘) ด้านสถานที่ (x= ๓.๙๖) และด้านการศึกษา (x= ๓.๕๔)
๒.ผลการเปรียบเทียบบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของ พระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปร พบว่า อายุ จำนวนพรรษา วุฒิการศึกษาทางสามัญและวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม มีผลให้ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของพระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมไม่แตกต่างกัน จึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนวุฒิการศึกษาทางธรรมนั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ปัญหาบทบาทบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองของพระสังฆาธิการในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พบว่า ปัญหาที่สำคัญ ด้านบุคลากร ได้แก่ บุคลากรขาดความรู้ความสามารถ มีเรื่องขัดแย้งกันในระหว่างการปฏิบัติงาน มีความอิจฉาริษยาต่อเพื่อนร่วมงานด้วยกัน แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรจัดหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ควรใช้หลักเหตุผลเป็นสำคัญ และต้องจัดให้มีการอบรมธรรมะ ด้านสถานที่ ได้แก่ ขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ต้องบูรณะสถานที่ให้น่าอยู่ตามระยะการใช้งาน และ ด้านการศึกษา ได้แก่ ไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการเงินในการศึกษาอย่างเพียงพอ แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ จัดหากองทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อรองรับผู้ต้องการศึกษาต่อแต่ขาดปัจจัยด้านการเงิน
๔. ผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า พระสงฆ์ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้มีบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครอง ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านบุคลากร ๒) ด้านสถานที่ ๓) ด้านการศึกษา และ ๔) ด้านสิ่งแวดล้อม
|