หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอำพล กตทีโป
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๗ ครั้ง
บทบาทพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร (การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอำพล กตทีโป ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของชาวไทยรามัญที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของชาวไทยรามัญที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในความคิดเห็นของชาวไทยรามัญที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วย ๑) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)   ซึ่งศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างของประชาชนชาวไทยรามัญ ในจังหวัดสมุทรสาครจำนวน ๓๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ  ตอนที่  ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม  ตอนที่  ๒ เป็นแบบสอบเกี่ยวกับความคิดเห็นของชาวไทยรามัญที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร ตอนที่ ๓  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) ๒) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ๕ ท่านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

         

 

 

 

ผลการวิจัย พบว่า

๑. ระดับความคิดเห็นของชาวไทยรามัญที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

๒. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของชาวไทยรามัญที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล โดยภาพรวม ประชาชนชาวไทยรามัญที่มี เพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนชาวไทยรามัญที่มี อายุ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ปัญหาเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร คือ  ควรส่งเสริมให้มีการใช้ภาษามอญในการสื่อสารชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยมีคนไทยชาวรามัญ ได้ใช้งานมาก  และพระสงฆ์ไม่ค่อยมีบทบาทหรือส่วนร่วมในการส่งเสริมวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยรามัญ

ผลการสัมภาษณ์ พบว่า พระสงฆ์มีความสำคัญเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญ ซึ่งพระสงฆ์เป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม ความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่

 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญในจังหวัดสมุทรสาคร คือ ควรส่งเสริมให้มีการใช้ภาษามอญให้แก่คนไทยชาวรามัญ และพระสงฆ์ควรมีบทบาทหรือส่วนร่วมในการส่งเสริมวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย-รามัญ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕