หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธีรนิติ์ ธีรธฺมโม
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
บทบาทพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี (การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระธีรนิติ์ ธีรธฺมโม ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  วันชัย สุขตาม
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับบาทบาทพระธรรมทูตด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอำเภอบางแพ  จังหวัดราชบุรี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทพระธรรมทูตด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในอำเภอบางแพ  จังหวัดราชบุรี ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระสังฆาธิการและพระภิกษุ ในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี  จำนวน ๑๗๗ รูป จาก ๒๖ วัด ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๙๖๙๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แบบสอบถามปลายเปิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)  

 

ผลการศึกษาพบว่า

. บาทบาทพระธรรมทูตด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านรูปแบบ ด้านวิธีการและด้านขั้นตอน                                            . เปรียบเทียบบทบาทพระธรรมทูตด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บทบาทพระธรรมทูตไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานของการวิจัย

                ๓. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทพระธรรมทูตด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พบว่า พระธรรมทูตส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นพระสังฆาธิการที่ต้องปฏิบัติภารกิจมาก  จึงส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติงานของพระธรรมทูตได้อย่างเต็มที่  และไม่มีเวลาเพียงพอ ประกอบกับบุคลากรมีน้อย และยังขาดการสนับสนุนงบประมาณที่จะดำเนินงานกิจกรรมด้านการเผยแผ่ ทั้งนี้ประชาชนยังทราบว่ามีพระธรรมทูตปฏิบัติงานอยู่จริง

                แนวทางการแก้ปัญหา ควรให้การศึกษาอบรมแก่พระภิกษุที่มีความสามารถ และมีคุณสมบัติที่จะเป็นพระธรรมทูตได้  มาปฏิบัติหน้าที่แทน พระสังฆาธิการควรมีการประชุมร่วมกัน  จากการประสานงานระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณ    และควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารของทางวัดรวมถึงการบริหารจัดการ อันนำมาสู่ความเข้าใจและแก้ปัญหาอย่างพร้อมเพรียงและยั่งยืน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕