การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของ พระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มมาจากประชากรที่เป็นพระสงฆ์ จำนวน ๖๑๙ รูป จากการหาด้วยวิธีของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๔๓ รูป และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป เพื่อทดสอบสมมติฐานระหว่างตัวแปรที่ทำการศึกษาว่า มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ โดยการใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)
ผลการวิจัย พบว่า
๑. การบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีพบว่าพระภิกษุมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๓) และเมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า พระภิกษุมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ
๒. ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปร พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาบาลีที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ๑) ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณก่อสร้างไม่เพียงพอ ๒) ปัญหาเกี่ยวกับการขาดการดูแลเอาใจใส่ ๓) ปัญหาเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดศาสนสมบัติของวัดยังไม่เป็นระบบแก่พระภิกษุสามเณร จึงมีข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย ๑) จัดหางบประมาณสำรองไว้มากๆ ให้เพียงพอกับการก่อสร้าง ๒) จำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแล ให้มีผู้รับผิดชอบที่เป็นรูปธรรมและเอาใจใส่จริงๆ ๓) การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดศาสนสมบัติของวัด ให้เกิดความสำนึกรักศาสนสมบัติของวัด
|