งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาพระสงฆ์ในอำเภอเมืองจังหวัดสระบุรีตามความคิดเห็นของคณะสงฆ์ ๒)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี จำนวน ๒๑๐ รูป โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .๙๕๓ วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance ) และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. พระสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง x= ๒.๙๘) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรีโดยรวมในระดับปานกลางทุกด้านเรียงลำดับดังนี้ ด้านการปาฐกถาบรรยายธรรม ด้านการเทศนา ด้านการเขียนบทความ สุภาษิตต่างๆ และด้านการสนทนาธรรม
๒.ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์อำเภอเมือ จังหวัดสระบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีสถานภาพ อายุ พรรษา วุฒิทางการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษานักธรรม และวุฒิการศึกษาเปรียญธรรม ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์อำเภอเมือ จังหวัดสระบุรี ไม่แตกต่างกัน
๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
๑) ด้านการเทศนา ขาดบุคลากรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระสงฆ์ยังไม่มีความรู้ในเรื่องที่เทศนา ใช้เวลาไม่เหมาะสม พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ยังมีทักษะไม่พอ ๒) ด้านการปาฐกถาบรรยายธรรม ขาดบุคลากรที่มีความรู้ องค์แสดงมีความรู้ความสามารถน้อย เวลา โอกาส สถานที่ อุปกรณ์ ไม่เอื้ออำนวยต่อการปาฐกถาบรรยายธรรม๓) ด้านการเขียนบทความ สุภาษิตต่าง ๆ ขาดการสนับสนุนด้านปัจจัย มีการสร้างแรงจูงใจในด้านการเขียนบทความ สุภาษิตน้อยมาก ขาดการคัดสรรข้อมูลที่เหมาะสมการตีความหมายสุภาษิตยังไม่แตกฉานพอ เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวย๔) ด้านการสนทนาธรรม บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการตอบปัญหาขาดอุปกรณ์ในการสื่อสารทางด้านอิเลคทรอนิคส์ ขาดภูมิธรรมไม่เสมอกัน
|