งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๖๐ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: ANOVA) และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดย อันดับแรก ได้แก่ ด้านวิธีการสอน รองลงมา ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนและด้านการใช้อุปกรณ์ในการสอน ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่านักเรียนที่มีอายุและระดับชั้นเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา แตกต่างกัน ส่วนนักเรียนที่มีเพศและสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา ไม่แตกต่างกัน
๓. ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยจำแนกดังนี้
๑) ด้านการใช้อุปกรณ์ในการสอน ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ อุปกรณ์การสอนมีน้อยเกินไป สื่อชำรุดใช้การไม่ได้และหนังสือเรียนได้ล่าช้า ข้อเสนอแนะ ได้แก่ จัดให้มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนให้ครบถ้วน ซ่อมแซมสื่อต่างๆ ให้พร้อมต่อการใช้งานและจัดให้มีเอกสารทดแทนหนังสือเรียน ๒) ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ บรรยากาศในห้องไม่น่าเรียน มีเสียงและกลิ่นไม่พึงประสงค์รบกวน อากาศในห้องเรียนร้อนหรือเย็นเกินไป ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีกิจกรรมนันทนาการเพิ่มขึ้น พาไปทัศนศึกษาดูงาน จัดให้สถานที่เรียนให้มีบรรยากาศดี ๓) ด้านวิธีการสอน ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ เนื้อหาของวิชาเข้าใจยาก บางครั้งต้องเร่งรีบสอน พระอาจารย์มีน้ำเสียงเบาและพูดเร็วเกินไป มีคาบเรียนน้อยเกินไปในแต่ละสัปดาห์ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรใช้สื่อการสอนที่เข้าใจง่ายขึ้น ใช้ไมโครโฟนขณะสอน ควรหาสื่อการสอนที่น่าสนใจมาเพิ่มและควรเพิ่มคาบเรียนในแต่ละสัปดาห์หรือเพิ่มเวลาสอนให้มากขึ้นด้วย
ดาวน์โหลด
|