หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุนทรวัชรกิจ (ฤทธิ์กล้า)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๔ ครั้ง
บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดเพชรบุรี(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุนทรวัชรกิจ (ฤทธิ์กล้า) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์
  พิเชฐ ทั่งโต
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี (๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจการพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามตามสถานภาพส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการบริหารกิจการงานคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัย  เชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสังฆาธิการในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน ๒๑๘ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวบทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี ตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา  อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการบริหารกิจการงานคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๕๔๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)

                   ผลการวิจัย พบว่า 

๑. บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี ทั้ง ๖ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๙)

๒. บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสภาพส่วนบุคคลโดยรวม พระสังฆาธิการที่มี ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่พระสังฆาธิการ ต่างกัน มีบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับพระสังฆาธิการที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม ต่างกัน มีบทบาทในการบริหารกิจการ   คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ปัญหาส่วนใหญ่ของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี คือการกระจายอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดเพชรบุรี ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดจนไม่มีหน่วยงานที่รองรับการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม  ดังนั้นพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี ทุกตำแหน่งทุกหน้าที่ ควรมีการเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอและควรเสริมปรับปรุงและเพิ่มบทบาทให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้มากยิ่งขึ้น และควรมีการกระจายอำนาจหน้าที่กระจายการปฏิบัติงานอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี อย่างเหมาะสม ประกอบกับควรทำงานอย่างมีระบบเป็นแนวทางเดียวกัน และมีเครือข่ายรวมมือกัน โดยการใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เต็มศักยภาพ ตลอดจนมีความประพฤติดีงามด้วยศีลาจาริยวัตรตามหลักพระธรรมวินัย มีความอดทน เสียสละทุ่มเทอย่างจริงจัง เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕