วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ สำคัญ ๓ ประการ คือเพื่อศึกษาการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา ศึกษาประวัติการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนของพุทธทาสภิกขุและศึกษาการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาของพุทธทาสภิกขุ
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา ได้แก่การเรียนรู้ ๓ เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา หลักนี้เป็นระบบการศึกษาหรือระบบการฝึกฝนอบรมและมีความสัมพันธ์กับกับอริยสัจ ๔ โดยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติไปสู่นิพพานหรือทางดำเนินชีวิตที่ดีงามหรือระบบการดำเนินชีวิตที่ดีงามเพราะเมื่อมีการศึกษาหรือการฝึกอบรม ก็เกิดเป็นการดำเนินชีวิตที่ดีงามหรือการดำเนินชีวิตที่ดีก็เกิดมีขึ้น หรืออาจพูดได้ว่าการฝึกไตรสิกขาก็เพื่อให้มรรคเกิดขึ้นนั้นเอง นอกจากเป็นการดับทุกข์แล้วยังเป็นหลักในการพัฒนาตนพัฒนาทางกาย คือพัฒนาด้วยศีล พัฒนาทางจิต คือพัฒนาด้วยสมาธิ พัฒนาทางปัญญาคือ พัฒนาปัญญาสูงขึ้น
ประวัติการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนของพุทธทาสภิกขุ เริ่มตั้งแต่ท่านอุปสมบท ได้ศึกษานักธรรมตรี โท เอก จนสอบได้ทุกชั้น ได้ศึกษาบาลีจนสอบเปรียบธรรม ๓ ประโยคได้ มีความรู้เรื่องบาลีใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาพระไตรปิฎก นอกจากนี้ท่านยังใช้การเรียนรู้สิ่งต่อไปนี้คือ๑. ด้านการศึกษาคัมภีร์ ๒. ด้านการปฏิบัติธรรม ๓. ด้านการเผยแผ่ธรรมและการทำสื่อการ
การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาของพุทธทาสภิกขุ ซึ่งมี ๓ อย่างคือศีล สมาธิ ปัญญา ด้านศีลท่านสมาทานวินัยสงฆ์ทุกข้อทั้งพระปาติโมกข์ และอภิสมาจาริกามีบริขาร ๘ ถือธุดงค์ เพื่อขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อย จีวรใช้ผ้า ๓ ผืน บิณฑบาตเป็นประจำ(เริ่มตั้งสวนโมกข์) เสนาสนะ อยู่ป่าถือปฏิบัติพิเศษเช่นกินข้าวจานแมว อาบน้ำคูฯลฯ เป็นการอยู่อย่างต่ำเพื่อกระทำอย่างสูง ด้านสมาธิฝึกฝนตนเองอย่างเข้มข้นพิเศษ มีการจัดทำสมุดบันทึก
“ปฏิบัติธรรมรายวัน แบบพุทธทาส” และฝึกจิตโดยใช้อานาปานสติภาวนา ด้านปัญญา ฝึกฝน ๓ อย่างคือ๑)อานาปานสติภาวนา๒)วิปัสสนาระบบรัดสั้น ๓)การปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม
นี้คือการเดินตามรอยพระอรหันต์ที่ท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ตั้งปณิธานเอาไว้เมื่อท่านเริ่มตั้งสวนโมกข์เป็นสำนักนักปฏิบัติธรรม ดำเนินเรื่อยมาจนท่านมรณภาพ เกิดคุณค่าแก่ท่านและบุคคลอื่นนานับประกาลเช่นท่านมีชีวิตแบบไม่ยึดมั่นถือมั่น และเป็นสิ่งกระตุ๊กใจให้บุคคลอื่นประพฤติตาม
|