หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอมรโพธิสุนทร (จิตตะวงศ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
ศึกษาพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมคำสอนอีสานเรื่องย่าสอนหลาน
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอมรโพธิสุนทร (จิตตะวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๘/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

   วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์๓ประการคือ๑)เพื่อศึกษาความเป็นมาของวรรณกรรมคำสอนอีสานเรื่องย่าสอนหลาน  ๒)เพื่อศึกษาหลักจริยธรรมทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมคำสอนอีสานเรื่องย่าสอนหลานและ ๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวรรณกรรมคำสอนอีสานเรื่องย่าสอนหลานที่มีต่อสังคมชาวอีสาน

      ผลการวิจัยพบว่า  วรรณกรรมคำสอนอีสานเรื่องย่าสอนหลานมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานโดยการสืบทอดด้วยระบบมุขปาฐะจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่ขาดสายของการสืบทอด มีลักษณะการประพันธ์ที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตน ที่ชาวอีสานใช้เป็นแนวทางในการครองตน ครองคน ครองงาน และครองสุข ปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคมชาวอีสานโดยแท้

        ในวรรณกรรมคำสอนเรื่องย่าสอนหลานนี้มีหลักจริยธรรมทางพุทธศาสนาปรากฏในวรรณกรรมคือ ๑.)สอนให้ศึกษาเล่าเรียน ๒.)  สอนคนให้เป็นคน ๓.)สอนให้รู้จักทำบุญ ๔.)  สอนให้รู้จักกินอยู่ ๕.) สอนให้รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ๖.)สอนไม่ให้ลืมตัว ๗.) สอนให้รู้จักการทำงาน ๘.) สอนเกี่ยวกับการพูดจา ๙.) สอนให้ละบาปสร้างบุญ หลักจริยธรรมทั้งหมดที่ปรากฏในวรรณกรรมคำสอนอีสานเรื่องย่าสอนหลานตรงกับหลักจริยธรรมในพุทธศาสนา ๓ ระดับ คือ ๑.) ระดับต้น หมายถึง เบญจศีล-เบญจธรรม ๒.) ระดับกลาง คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ และ ๓.) ระดับสูง ได้แก่ อริยมรรค ๘ ประการและมีหลักจริยธรรมอื่นๆโดยมีสังคหะวัตถุ พรหมวิหารธรรม และสมชีวิธรรม 

          นอกจากนี้ วรรณกรรมคำสอนเรื่องย่าสอนหลานมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชาวอีสาน ๗ ด้าน คือ ๑) ด้านการศึกษา  ๒) ด้านคติความเชื่อ ๓) ด้านหลักธรรม ๔) ด้านการทำความดี ๕) ด้านความกตัญญูกตเวที ๖) ด้านความสามัคคี ๗) ความไม่ประมาท และอิทธิพลที่มีต่อประเพณีอีสานใน ๓ ลักษณ์ คือ ๑) จารีตประเพณีอีสาน  ๒) ขนบธรรมเนียมประเพณีอีสาน๓) ธรรมเนียมประเพณีอีสาน ทั้งหมดเป็นหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมคำสอนอีสานเรื่องย่าสอนหลานที่ชาวอีสานได้ยึดถือปฏิบัติตามจนถึงทุกวันนี้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕