การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบุญกิริยาวัตถุ ๓ ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาบุญกิริยาวัตถุ ๓ ที่ปรากฏในประเพณีบุญเดือนสี่ ๓) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยมบุญกิริยาวัตถุ ๓ ที่ปรากฏในประเพณีบุญเดือนสี่ที่มีต่อวิถีชีวิตของประชาชนตำบลนาคายอำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี วิธีการศึกษาครั้งนี้ เป็นศึกษาวิจัยเชิง และวิจัยภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า
บุญกิริยาวัตถุ เป็นรากแก้วแห่งการทำดีในทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักการส่งเสริมในการทำคุณประโยชน์ที่ดี เพื่อพัฒนาคุณภาพของชีวิตให้เจริญงกงามทั้งปัจเจกบุคคล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของบุญกิริยาวัตถุเป็น ๓ คือ ๑) ทานมัย คือบุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒) ศีลมัย คือบุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล และ ๓) ภาวนามัย คือบุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ซึ่งบุญกิริยาวัตถุ ๓ นี้ มีคุณลักษณะและอานิสงส์แตกต่างกัน ไปตามแต่ละดับชั้น เช่น ศีลย่อมได้อานิสงส์มากกว่าการให้ทาน ส่วนภาวนาย่อมได้อานิสงส์ยิ่งกว่าการรักษาศีล
ประเพณีบุญเดือนสี่ เป็นหนึ่งในประเพณีฮีต ๑๒ เดือน เรียกอย่างหนึ่งว่าบุญผะเหวส มีความเป็นมาในภาคถิ่นอีสานเป็นเวลาชานาน ทุกขั้นตอนในการจัดพิธีกรรมในการจัดงาน และกัณฑ์เทศน์แฝงด้วยหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือทาน ศีล และภาวนา
วิถีชีวิตของชาวตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินไปตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือทาน ศีล และภาวนา ซึ่งปรากฏในประเพณีบุญเดือนสี่ พร้อมด้วยส่งผลพ่วงต่ออีกหลายด้าน เช่น ด้านวัฒนธรรม ด้านวรรณกรรม ด้านฝาผนังจิตรกรรม ด้านการท่องเที่ยว ด้านทุนสังคม ด้านจริยธรรมชีวิต ด้านสามัคคี และด้านสังคมสังเคราะห์
|