วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาสมุฏฐานแห่งการละเมิดสิกขาบท (๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของสมุฏฐานแห่งการละเมิดสิกขาบท และ (๓) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับสมุฏฐานแห่งการละเมิดสิกขาบท
ผลการวิจัยมีดังนี้ :
สมุฏฐานแห่งการละเมิดสิกขาบทมี ๖ ประการ คือ (๑) อาบัติเกิดทางกาย ไม่ใช่ทางวาจา ไม่ใช่ทางจิตก็มี (๒) อาบัติเกิดทางวาจา ไม่ใช่ทากาย ไม่ใช่ทางจิตก็มี (๓) อาบัติเกิดทางกายกับวาจา ไม่ใช่ทางจิตก็มี (๔) อาบัติเกิดทางกายกับจิต ไม่ใช่ทางวาจาก็มี (๕) อาบัติเกิดทางวาจากับจิต ไม่ใช่ทางกายก็มี และ (๖) อาบัติเกิดทางกาย วาจาและจิต สมุฏฐานแห่งอาบัติทั้ง ๖ อย่าง นี้ ปรากฏว่า ลำพังจิตอย่างเดียวไม่ได้เป็นสมุฏฐานของอาบัติ มีเฉพาะกายกับจิต วาจากับจิต และกาย วาจา และจิต ทั้งนี้เพราะว่า เพียงแค่จิตอย่างเดียวโดยไม่เกิดพร้อมกับกายหรือวาจา ก็ไม่เป็นอาบัติ
แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับสมุฏฐานแห่งการละเมิดสิกขาบทนั้น เพื่อเป็นการตระหนักรู้ถึงสมุฏฐานหรือสาเหตุให้ละเมิดสิกขาบท ซึ่งภิกษุผู้ล่วงด้วยไม่รู้ หรือด้วยสำคัญผิด เป็นต้น หรือภิกษุ ผู้มาใหม่จะได้สนใจและเพื่อป้องกันและกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เพื่อประโยชน์คือความดีงามแห่งชีวิต คือเพื่อให้เกิดประโยชน์แห่งความบริสุทธิ์เมื่อเป็นดังนี้ผู้รักษาพระวินัยย่อมสามารถบรรลุความเป็นพระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ได้ ส่วนโทษของความทุศีลและละเมิดพระวินัยนั้น ย่อมไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายไม่พึง พรํ่าสอน ต้องทุกข์และเดือดร้อนใจอยู่เป็นนิตย์
|