วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนิทานธรรมเรื่องนางสิบสอง” นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาวรรณกรรมเรื่องนางสิบสอง ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในเรื่องนางสิบสอง ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในวรรณกรรมเรื่องนางสิบสองที่มีต่อสังคมอีสาน วิทยานิพนธ์นี้ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่ได้มาจากการศึกษาและการสัมภาษณ์ประชากรเป้าหมาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าของท่านผู้รู้และเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษาทั่วไปแล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย
ผลของการวิจัยพบว่า
1) วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดและวรรณกรรมยังเป็นงานสร้างสรรค์ของมนุษย์โดยใช้ภาษาเป็นสื่อ ซึ่งเนื้อเรื่องเพื่อความเข้าใจ และความงามอันเป็นศิลปะ เพื่อให้เห็นความสามารถในการสร้างสรรค์ของผู้แต่ง ดังนั้น วรรณคดีจึงเป็นงานสร้างสรรค์ของผู้แต่งและภาษาที่ใช้นั้นจะต้องงดงามด้วยศิลปะซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งขึ้นด้วยกลวิธีอันวิจิตรบรรจงลักษณะของวรรณกรรม มีลักษณะเกี่ยวกับสังคม และความสัมพันธ์ของสังคม ก็คือวรรณกรรมเป็นสิ่งที่ผู้แต่งได้สอดแทรกความคิด ความเชื่อค่านิยม สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
2 ) ผลวิเคราะห์โครงสร้างของเรื่อง พบว่า ได้เรียงลำดับปัญหาของโครงเรื่อง และการสร้างความขัดแย้งในโครงเรื่อง เริ่มด้วย สภาพการณ์ในตอนเปิดเรื่องได้กล่าวถึงความยากจน จนไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ ปัญหาปรากฏ เรื่องเศรษฐีเห็นเมียร้องไห้เพราะคิดถึงลูกนางสิบสองดำเนินชีวิตอยู่ในป่าปัญหาเริ่มขยาย และเรื่องนี้ก็จบลงด้วยนางสิบสองได้คืนความความเป็นพระมเหสี,และพระรถเสนและนางเมรีตายด้วยความรัก
3) พุทธธรรมเถรวาทที่สำคัญซึ่งปรากฏในเรื่องนางสิบสอง มีเรื่องทุกข์ ปัญญา บุญกรรม เมตตา และกรุณา ความทุกข์ หมายถึงภาวะที่ทนอยู่ได้ยาก ความลำบากทุกข์ยากทั้งกายใจ เรียกว่า ความทุกข์ “ปัญญา” หมายถึง ความรู้ทั่ว ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล ความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดี ชั่ว คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ บุญกรรม หมายถึงผลที่เกิดจากการกระทำที่ผ่านมา และมีผลเป็น ความมีสุขหรือความชั่วบาปกรรมเป็นทุกข์ เมตตา หมายถึง ธรรมชาติที่มีความรัก ความเยื่อใย และภาวะจิตที่เป็นกุศล มี ๒ ประเภท คือ เมตตาที่เป็นความรักเทียม และเมตตาที่เป็นความรักแท้หรือความรักที่เป็นอกุศล และความรักที่เป็นกุศล กรุณา หมายถึงธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความหวั่นจิต แก่สาธุชน ที่เห็นคนและสัตว์ ประสบความทุกข์และต้องการให้พ้นทุกข์ ประเภทของกรุณา มีกรุณาเทียมเป็นกรุณาที่เจือด้วยอกุศล และกรุณาแท้เป็นกรุณาที่เจือด้วยกุศล
|