หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาบุญส่ง สิริภทฺโท (ธูปจันทร์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของอำมาตย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาบุญส่ง สิริภทฺโท (ธูปจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  ศศิวรรณ กำลังสินเสริม
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

               วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของอำมาตย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมสำหรับการทำหน้าที่ของอำมาตย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของอำมาตย์      ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์แบบจับประเด็น

              ผลการวิจัยพบว่า คำว่า อำมาตย์ หมายถึง บุคคลผู้เป็นที่ปรึกษาในราชกิจ ข้าเฝ้ารับใช้ใกล้ชิดของพระราชา และข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีความสำคัญต่อพระราชาที่จะคอยช่วยเหลือในการปกครองและบริหารบ้านเมือง อำมาตย์นี้พระราชาจะทรงคัดเลือกมาจากบุคคลผู้ที่มีความสามารถและมีความจงรักภักดีต่อบ้านเมือง อำมาตย์คนที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดี ย่อมจะมีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่ง แต่อำมาตย์คนที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่      ด้วยความซื่อสัตย์ ก็จะถูกลงโทษให้พ้นจากตำแหน่ง อำมาตย์นั้นมีบทบาทและหน้าที่ ที่สำคัญ ๕ ด้าน และการทำหน้าที่ของอำมาตย์ทั้ง ๕ ด้านนั้น จะต้องมีหลักธรรมที่นำมาใช้สำหรับการทำหน้าที่

              หลักธรรมที่อำมาตย์นำมาใช้เป็นหลักในการทำหน้า ๕ ด้าน นั้น คือ ๑) ราชวสดีธรรม สัปปุริสธรรม อธิษฐานธรรม และโลกธรรม ใช้เป็นหลักในการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระราชา        ๒) พาหุสัจจะและกัลยาณมิตรธรรม ใช้เป็นหลักในการทำหน้าที่อบรมสั่งสอนธรรม ๓) กตัญญู ทศพิธราชธรรม อปริหานิยธรรม และพรหมวิหารธรรม ใช้เป็นหลักในการทำหน้าที่ดูแลกำลังทหารและปกครองบ้านเมือง ๔) การเว้นจากอคติ และธรรมาธิปไตยใช้เป็นหลักในการทำหน้าที่ตัดสิน     คดีความ และ ๕) สังคหวัตถุธรรม ใช้เป็นหลักในการทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน, อุปาสกธรรม   บุญกิริยาวัตถุ และอริยทรัพย์ ใช้เป็นหลักในการทำหน้าที่ดูแลงานด้านพระศาสนา, ฆราวาสธรรม  การเว้นจากอบายมุข และสุขของคฤหัสถ์ ใช้เป็นหลักในการดูแลครอบครัว

              ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น อำมาตย์มีบทบาทหน้าที่ ที่สำคัญในสังคม ๕ ด้าน คือ  ๑) ถวายคำปรึกษาแก่พระราชา ๒) ถวายความรู้และอบรมสั่งสอนธรรม ๓) ดูแลกำลังทหารและปกครองบ้านเมือง ๔) ตัดสินคดีความ และ ๕) ธุรการและกิจการทั่วไป บทบาทเหล่านี้มีผลต่อระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา และระบบสังคม เป็นอย่างยิ่ง ได้ถูกนำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ มีคุณค่ากับสังคมในปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕