หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระใจกลาง ปญฺญฺาวชิโร (แก้วเกิด)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
การศึกษายักษ์ในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในศิลปกรรมไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระใจกลาง ปญฺญฺาวชิโร (แก้วเกิด) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาจิตติภัทร อจลธมฺโม
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเอกสารโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๓ ประการ คือ (๑)  เพื่อศึกษายักษ์ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา  (๒)  เพื่อศึกษาศิลปกรรมไทย  (๓) เพื่อศึกษายักษ์ในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในศิลปกรรมไทย  ผลของการศึกษาพบว่า

ยักษ์ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา พบว่า ปรากฏอยู่อย่างกระจัดกระจายในพระพุทธศาสนาซึ่งกล่าวไว้หลายแห่งทั้งในคัมภีร์พระวินัยปิฎก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก คัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกและอรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ตามความหมายยักษ์หมายถึง อมนุษย์จำพวกที่เกิดในอบาย  มี ๒ ลักษณะ  คือ  ลักษณะเฉพาะตนและลักษณะทางสังคม ยักษ์มีการปกครองกันไม่ได้อยู่โดยลำพัง ประเภทและลำดับชั้นของยักษ์มีทั้งบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา  ชั้นอสุรกายภูมิและชั้นติรัจฉานภูมิ ในแต่ละชั้นมีท้าวจาตุมหาราชเป็นอธิบดีปกครองใน  ๔  ทิศ (๑) คือ ด้านทิศเหนือมีท่านท้าวกุเวโร (ยักษ์) เป็นอธิบดีปกครอง (๒) คือ ด้านทิศตะวันออก มีท่านท้าวธตรฐ  เป็นอธิบดีปกครอง (๓) ด้าน ทิศใต้ มีท่านท้าววิรุณหก เป็นอธิบดีปกครอง  (๔) ด้าน ทิศตะวันตก  มีท่านท้าววิรูปักษ์ เป็นอธิบดีปกครอง

ศิลปกรรมเป็นผลงานทางประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ชาติได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงคุณค่าและวิวัฒน์การของมนุษย์ในรูปศิลปกรรม ฉะนั้นศิลปกรรมจึงทรงคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละชาติพันธุ์ ในประเทศไทยได้ถูกนำมาในลักษณะงานศิลปะในแขนงต่างๆ  ทั่วไป ศิลปกรรมมี ๓ ประเภท คือประเภทประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ซึ่งมีบทบาทในงานศิลปกรรมของไทย

        ยักษ์ในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในศิลปกรรมไทย พบว่า ยักษ์ในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในศิลปกรรมไทยมีรูปร่างลักษณ์เป็นรูปปั้นปูนยืนถือกระบองอยู่หน้าวัดโบสถวิหารซึ่งมีลักษณะโดดเด่นไปตามเอกลักษณ์เป็นอยู่แทบทุกภาคของประเทศไทย ที่ปรากฏในรูปแบบงานศิลปกรรมไทยซึ่งมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละภูมิภาคของไทย เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้  เป็นต้น  

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕