วิทยานิพนธ์นี้เป็นวิจัยเอกสารโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักมนุษยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม และ (๓) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักมนุษยธรรมประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน
ผลการศึกษาพบว่า
หลักมนุษยธรรมทั้งในพระไตรปิฎกและนักวิชชาการได้ให้ความหมายลักษณะที่เหมือนกัน คือ ธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ในการอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคมมนุษย์ปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน คุณลักษณะของมนุษยธรรม คือ หลักเบญจศีลและเบญจธรรมเป็นกัลยาณธรรมซึ่งกันและกันเป็นคู่กันแสดงเอาไว้เพื่อให้เข้าใจอย่างชัดแจ้งขึ้น หมายถึง ธรรมอันดีงาม ธรรมที่ทำบุคคลให้เกิดความงามหรือคนดี และมีคุณธรรม มีกาย วาจา ใจ ที่สะอาดงดงาม
วิธีการปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเบญจธรรม และ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นหลักแห่งการงดเว้นจากการทำชั่วทั้งหลาย เป็นความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพื่อทำลายอกุศลกรรมบถ คือ การกระทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อมความทุกข์หรือทุคติมีความเห็นผิดจากคลองธรรม เป็นต้น ธรรมอันดีงาม ธรรมที่ทำบุคคลให้เกิดความงามหรือคนดี และมีคุณธรรม มีกาย วาจา ใจ ที่สะอาดงดงาม
แนวทางการนำหลักมนุษยธรรมประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ การประพฤติปฏิบัติตามเบญจศีลและเบญจธรรม เป็นต้น จึงเป็นหลักธรรมสำหรับมนุษย์ทุกคน ทั้งนี้ก็เพื่อความสงบสุขสำหรับปัจเจกชนในการดำเนินชีวิตในสังคมโดยส่วนรวม เช่น มีการเรียงชีพชอบโดยสุจริต(สัมมาอาชีวะ) และ สัจจะ ความสัตย์จริงต่อกันในสังคม เริ่มตั้งแต่สถานบันเล็กๆคือสถาบันครอบครัวไปจนถึงสถาบันระดับชาติระดับประเทศจะมีความสุขความเจริญได้ในสังคม
|