หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภารวี ศักดิ์สิทธิ์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
เรื่องการประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน ๔ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน : กรณีศึกษากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลร้องกวาง จ.แพร่
ชื่อผู้วิจัย : ภารวี ศักดิ์สิทธิ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกวิทอรรถวาที
  สายัณห์ อินนันใจ
  ตรีรัตน์ ธเนศสกุลวัฒนา
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

           การประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน ๔ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพื่อศึกษาหลักสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท นำหลักสติปัฏฐาน ๔ มาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และศึกษาผลความแตกต่างของพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือด

         วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสารและเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบสองกลุ่มทดสอบก่อน-หลังทดลอง (Pretest-postest Control Group Design) เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญในประชากรไทยและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปีซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในระยะยาวตามมาส่งผลให้เกิดทุพลภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นอย่างมาก การใช้หลักสติปัฏฐาน ๔ มาประกอบในการสอนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จึงน่าจะมีประโยชน์ในการป้องกันและชะลอการเกิดเบาหวานได้ศึกษาในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ๔๐ คน ระหว่าง ๒๖สิงหาคม ถึง ๒๖พฤศจิกายน ๒๕๕๔ กลุ่มทดลองจำนวน ๒๐ คนได้รับการฝึกปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๑๒ สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

        ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน๔๐ คนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ ๗๐  อายุระหว่าง ๓๙ - ๗๕ ปี การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ พบว่า มีการฝึกปฏิบัติและมีสติกำหนดรู้ด้านกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) การฝึกปฏิบัติการมีสติกำหนดรู้ด้านความรู้สึก   (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) การฝึกปฏิบัติและมีสติกำหนดรู้ด้านความคิด (จิตตานุปัสสนา
สติปัฏฐาน
) และการปฏิบัติและมีสติกำหนดรู้ด้านสภาวธรรม (ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < .๐๑) พฤติกรรมสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหารมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < .๐๑) ภาวะเครียด ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (Systolic blood pressure) มีค่าเฉลี่ยลดลงและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < .๐๑) ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารมีค่าเฉลี่ยลดลงและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < .๐๑)

          พบว่าร้อยละ ๔๕ ในกลุ่มทดลองมีค่าน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ (fasting plasma glucose < ๑๐๐ มก./ ดล.) เมื่อเทียบกับร้อยละ ๔๐ ในกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < .๐๑)

        สรุป การนำหลักสติปัฏฐาน ๔ มาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพและค่าน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารดีขึ้น จะช่วยป้องกันและชะลอการเกิดเบาหวานได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕