หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิริปุญญาคม (จูมทอง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
ศึกษาความเพียรในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏ ในผญาอีสาน
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิริปุญญาคม (จูมทอง) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์
  บุญเลิศ ราโชติ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความเพียรในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในผญาอีสาน” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการดังต่อไปนี้ ๑)  ศึกษาความเพียรในพระพุทธศาสนา ๒) ศึกษาประวัติความเป็นมาและคุณค่าของผญาอีสาน ๓) ศึกษาความเพียรในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในผญาอีสาน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพคือเน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และภาคสนาม (Field Research) โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งเป็นการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า

  ความเพียรคือความบากบั่น ความกล้า ความพยายาม ความขะมักเขม้น ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย  ความเพียรมีปรากฏในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น อปัณณกปฏิปทา    เวสารัชชกรณธรรม    พละ ๕  โพชฌงค์ ๗  สัทธรรม ๗  มรรคมีองค์ ๘  นาถกรณธรรม ๑๐  บารมี ๑๐ เป็นต้น

     ผญา คือ ความรู้ ปัญญา คำพูดที่นักปราชญ์ใช้ในการสั่งสอนประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ชาวอีสาน) โดยภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาเฉพาะถิ่นอีสาน ส่วนลักษณะของผญา คือ มีลักษณะเป็นถ้อยคำพูดที่ไพเราะมีสัมผัสกันเป็นกลอนสั้นๆ น่าฟัง ให้คติเตือนใจได้เป็นอย่างดี โดยมีระดับในการใช้แต่ละโอกาส บุคคล สถานที่อย่างเหมาะสม มีเหตุผลในคำผญานั้นๆ อยู่ในตัวบทผญาแต่ละบท และก็มีคุณค่าหลายประการ เช่น เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้สึก การอบรมสั่งสอน การโน้มน้าวจิตใจ เป็นมรดกที่คุณค่าทางภาษา เป็นภาพสะท้อนของสภาพทางสังคม และให้ความบันเทิงใจ

ผญาอีสานได้กล่าวถึงความเพียรที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา เช่น วิถีการดำเนินชีวิด การสร้างคุณงามความดี และเพียรในการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งหลักความเพียรเหล่านี้ ชาวบ้านตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อยรู้จักวิธีการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างดี  

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕