หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการวัฒนา สิริวฑฺฒโน (คำแสน)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ตามหลักทิศ ๖ ในสิงคาลกสูตร กรณีศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมืองแพร่
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการวัฒนา สิริวฑฺฒโน (คำแสน) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเวียง กิตฺติวณฺโณ
  วิชาสินี ศุขะพันธุ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ตามหลักคำสอนเรื่องทิศ๖ในสิงคาลกสูตรและเพื่อศึกษาสภาพจริงของพฤติกรรมที่ครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอเมืองแพร่ได้แสดงความสัมพันธ์ต่อกันและศึกษาเปรียบเทียบสภาพที่มีการปฏิบัติจริงกับสภาพในเชิงอุดมคติที่ปรากฏในหลักคำสอนเรื่องทิศ๖ในสิงคาลกสูตร โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารร่วมกับการวิจัยโดยการสำรวจ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นและครูนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอเมืองแพร่จำนวน ๔๘๘ คน

    ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของศิษย์กับครูตามหลักคำสอนเรื่องทิศ ๖ในสิงคาลกสูตรนั้น ศิษย์พึงปฏิบัติต่อครูด้วย ๕ ลักษณะดังนี้คือ ๑) ลุกขึ้นยืนรับ ๒)เข้าไปคอยรับใช้        ๓) เชื่อฟังคำแนะนำสั่งสอน ๔) ดูแลปรนนิบัติ  ๕) ด้านการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพส่วนความสัมพันธ์ของครูกับศิษย์ตามหลักคำสอนเรื่องทิศ ๖ในสิงคาลกสูตรนั้นครูจะพึงอนุเคราะห์ศิษย์ด้วย ๕  ลักษณะดังนี้คือ ๑) แนะนำให้เป็นคนดี ๒) ให้เรียนดี ๓) บอกความรู้ในศิลปวิทยา     ทุกอย่างด้วยดี ๔) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง  ๕) ทำการป้องกันในทิศทั้งปวง

  ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสภาพความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ใน ๕ ด้านพบว่า ด้านครูอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยการให้เรียนดี ด้วยทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย ด้วยการแนะนำดี ด้วยการยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูงและการสอนศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด นั้น ในภาพรวมและรายด้าน มีการแสดงออกอยู่ในระดับมากทุกด้านส่วนความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับครูทั้ง ๕ ด้านคือ ด้านศิษย์พึงปฏิบัติต่อครูด้วยการลุกขึ้นยืนต้อนรับโดยความเคารพ และด้วยการเชื่อฟังคำสั่งสอน พบว่าอยู่ในระดับมาก และในด้านการช่วยทำกิจธุระการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพและการปรนนิบัติช่วยบริการตามลำดับ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อมองในภาพรวมแล้วมีการแสดงออกอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อมองโดยภาพรวมทุก ๆด้านแล้วจะเห็นได้ว่า ครูมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของศิษย์ทุกด้านแบบเป็นกลาง ส่วนศิษย์มีความคิดเห็นต่อครูในระดับมากทุกด้าน

  ผลการศึกษาเปรียบเทียบสภาพความสัมพันธ์ของครูกับศิษย์ในสภาพปัจจุบันกับในสภาพเชิงอุดมคติตามหลักคำสอนเรื่องทิศ ๖ในสิงคาลกสูตร พบว่า สภาพความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ในด้านต่าง ๆทั้ง ๕ ด้าน ทุก ๆ ด้านนั้นมีความสอดคล้องกันแต่จะลึกซึ้งกว่าในปัจจุบัน   ซึ่งอาจจะเป็นบริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่นในอดีตนักเรียนผู้เป็นศิษย์ต้องไปฝากตัวปรนนิบัติรับใช้อาศรัยอยู่ร่วมกันในสำนักของครูอาจารย์ แต่ในปัจจุบันครูและนักเรียนจะมีความสัมพันธ์ต่อกันก็เฉพาะในโรงเรียนตามกฎระเบียบของสถานศึกษาและข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครูและนักเรียน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕