หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธิติ อนุภทฺโท (พิมพ์เสน)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์อุปลักษณ์ในหนังสือพระปฐมสมโพธิตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน(สาขาวิชาภาษาศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธิติ อนุภทฺโท (พิมพ์เสน) ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๔/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุริยา วรเมธี
  เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์
  วีระกาญจน์ กนกกมเลศ
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์อุปลักษณ์ในหนังสือพระปฐมสมโพธิตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่ปรากฏในหนังสือพระปฐมสมโพธิ และกระบวนการทางความหมายของการเป็นอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในหนังสือพระปฐมสมโพธิ ตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน โดยเก็บข้อมูลจากหนังสือพระปฐมสมโพธิ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส  ๒๙ ปริจเฉท

ผลการวิจัยมีดังนี้

๑. รูปภาษาที่เป็นอุปลักษณ์ที่ปรากฏในหนังสือพระปฐมสมโพธิ สามารถจัดตามความหมายของอุปลักษณ์เป็น ๙ ประเภท ได้แก่ ๑) อุปลักษณ์มนุษย์ ๒) อุปลักษณ์สัตว์ ๓) อุปลักษณ์พืช ๔) อุปลักษณ์วัตถุ ๕) อุปลักษณ์สิ่งก่อสร้าง ๖) อุปลักษณ์อาการ ๗) อุปลักษณ์สงคราม ๘) อุปลักษณ์ธรรมชาติ และ ๙) อุปลักษณ์สิ่งเหนือธรรมชาติ 

๒. กระบวนการทางความหมายของการเป็นอุปลักษณ์ในหนังสือพระปฐมสมโพธิ สะท้อนให้เห็นมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษา โดยแสดงผลจากกระบวนการถ่ายโยงทางความหมาย จากวงความหมายต้นทางไปยังวงความหมายปลายทาง พบว่ามีกระบวนการถ่ายโยงทางความหมายทั้ง ๒ ประเภท คือ กระบวนการถ่ายโยงทางความหมายแบบเชิงเดี่ยว และกระบวนการถ่ายโยงความหมายแบบเชิงซ้อน นอกจากนั้น ผลการวิจัยพบว่าอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในหนังสือพระปฐมสมโพธิมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ทางร่างกาย การรับรู้ทางประสาทสัมผัส สิ่งแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์การเรียนรู้ทางธรรม สังคมและวัฒนธรรม

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕