หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ยุทธนา จันแก้ว
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การจัดการความขัดแย้งของตำรวจในสถานีตำรวจภูธรสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ยุทธนา จันแก้ว ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.ปัญญา คล้ายเดช
  ดร.อุดร จันทวัน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของตำรวจในสถานีตำรวจภูธรสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการความขัดแย้งของตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจภูธรสีดา จำแนกตามสถานภาพและระยะเวลาดำรงตำแหน่ง และ๓)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจภูธรสีดา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ข้าราชการตำรวจและอาสาสมัครตำรวจบ้านในเขตสถานีตำรวจภูธรสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าt-test สถิติF-test สถิติความแปรปรวนทางเดียว และสถิติเปรียบเทียบเป็นรายคู่ของเซฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 

๑.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการความขัดแย้งของตำรวจสถานีตำรวจภูธรสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ทั้ง ๕ ด้านคือด้านการหลีกเลี่ยง, ด้านการปรองดอง, ด้านการต่อสู้, ด้านการร่วมมือร่วมใจ, ด้านการประนีประนอม หรือการเจรจาต่อรอง โดยรวม การจัดการความขัดแย้งอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งของตำรวจสูงสุดคือ ด้านการปรองดอง รองลงมาคือ ด้านการร่วมมือร่วมใจ และด้านต่ำสุดคือ          ด้านการต่อสู้ 
๒. ผลการเปรียบเทียบการจัดการความขัดแย้งของตำรวจ จำแนกตามสถานภาพข้าราชการตำรวจและอาสาสมัครตำรวจบ้านพบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าใน ด้านการหลีกเลี่ยง, ด้านการปรองดอง, ด้านการต่อสู้, ด้านการร่วมมือร่วมใจ, ด้านการประนีประนอม หรือการเจรจาต่อรอง ข้าราชการตำรวจมีระดับการจัดการความขัดแย้งไม่แตกต่างกันทางสถิติ  ผลการศึกษานี้ไม่เป็นจริงตามสมมุติฐานการวิจัยที่ ๑ ที่ว่า ตำรวจมีสถานภาพต่างกัน มีการจัดการความขัดแย้งของตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจภูธรสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกัน
๓. ผลการผลการเปรียบเทียบการจัดการความขัดแย้งของตำรวจสถานี ตำรวจภูธรสีดา จำแนกตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่างกันคือ น้อยกว่า ๕ ปี, ๕ – ๒๐ ปี, ๒๑ ปีขึ้นไป พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่างกัน การจัดการความขัดแย้งของตำรวจสถานีตำรวจภูธรสีดา โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑ ผลการศึกษานี้เป็นจริงตามสมมุติฐานการวิจัยที่ ๒ ที่ว่า ตำรวจมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีการจัดการความขัดแย้งของตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจภูธรสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกัน
๔. แนวทางการจัดการความขัดแย้งของตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจภูธรสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมาเป็นรายด้านดังนี้ ด้านการหลีกเลี่ยง แนวทางที่ควรจัดการความขัดแย้งไม่ควรปฏิบัติมากที่สุด คือเมื่อเกิดความขัดแย้งพยายามหลีกเลี่ยง เฉยเมยไม่ให้ความสนใจต่อปัญหาเกิดขึ้น ด้านการปรองดอง แนวทางที่ควรจัดการความขัดแย้งควรปฏิบัติมากที่สุดคือเมื่อเกิดความขัดแย้งให้โอกาสคู่กรณีได้ชี้แจง หรือถกปัญหากันอย่างตรงไปตรงมา ด้านการต่อสู้แนวทางที่ควรจัดแนวทางที่ควรจัดการความขัดแย้งไม่ควรต่อสู้มากที่สุดคือ พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนเองบรรลุเป้า หมาย โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายหรือสูญเสียของคนอื่น ด้านการร่วมมือร่วมใจ แนวทางที่ควรจัดการความขัดแย้งควรร่วมมือร่วมใจกัน มากที่สุดคือ แสดงออกให้เห็นว่า ความขัดแย้งไม่ใช่เรื่องร้ายแรงถ้าทุกฝ่ายเข้าใจปัญหาก็สามารถประสานประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้ ด้านการประนีประนอม หรือการเจรจาต่อรอง แนวทางที่ควรจัดการความขัดแย้งควรประนีประนอม หรือการเจรจาต่อรอง มากที่สุดคือ เมื่อเกิดความขัดแย้งใช้ความสามารถในการเจรจาต่อรอง และให้ผู้อื่นยินยอมให้ในสิ่งที่ต้องการโดยความสมัครใจ

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕