หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระไพฑูรย์ รตนิโก ( ศรีวิชา )
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระไพฑูรย์ รตนิโก ( ศรีวิชา ) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสำราญ กมฺมสุทฺโธ,ดร.
  ดร.อุดร จันทวัน
  ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์   ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นการใช้หลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง  อำเภอพิบูลย์รักษ์  จังหวัดอุดรธานี   ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง  อำเภอพิบูลย์รักษ์  จังหวัดอุดรธานี๓)  เพื่อศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง  อำเภอพิบูลย์รักษ์   จังหวัดอุดรธานี   ประชากรกลุ่มศึกษาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ จำนวน ๓๖๔ คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Samping) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่(Frequency), ค่าร้อยละ(Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One  way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD)

ผลการวิจัยพบว่า

๑.ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง  อำเภอพิบูลย์รักษ์  จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน (xˉ  = ๓.๗๖)

๒. ผลเปรียบเทียบทัศนะของประชาชนต่อการบริหารงานของตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์  จังหวัดอุดรธานี พบว่าประชาชนที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน มีทัศนะ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย แต่ในส่วนของประชาชนที่มีระดับการศึกษาและอาชีพที่แตกต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย (Sig = ๐.๐๐)

๓. มีข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลควรใช้หลักกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการการให้เป็นที่ยอมรับของสังคมกำหนดกรอบการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้องทุกขั้นตอน มีการจัดระบบงานและข้อมูลข่าวสารเพื่อเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน เปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้เพื่อเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญและมีส่วนร่วมทุกมิติ มีการกำหนดเป้าหมายและมาตรฐานโดยการวางกรอบความรับผิดชอบให้มีขอบเขตที่ชัดเจนครอบคลุมทั้งระบบงาน มีการเพิ่มความสามารถในการบริหารงานเพิ่มผลผลิตของงานในทางบวกให้เกิดความคุ้มค่ากับต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับ

การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ ดังนี้คือ ให้ผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานภายในองค์กรอย่างจริงจัง สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย.ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายมีแผนแม่บทอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน การดำเนินงานต่างๆ มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ พัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕